วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ม)
มะกรูด
ชื่ออื่น ๆ : ส้มกรูด, ส้มมั่วผี (ภาคใต้), มะหูด (หนองคาย), ส้มมะกรูด (ภาคกลาง)ชื่อสามัญ : Leech Lime, Kaffir Lime, Porcupine orangeชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.วงศ์ : RUTACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ผิวเปลือกต้นเรียบ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบ : ใบมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ ใบมีสีเขียวแก่ พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ไม่มีกลิ่นหอม ดอก : ดอกมีสีขาว คล้ายดอกมะนาว ดอกมีกลิ่นหอม ผล : ผลมีขนาดเท่ากับผลมะนาว ผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดการขยายพันธ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำ และความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยส่วนที่ใช้ : ใบ, ผล
สรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสด นำมาปรุงกับอาหารช่วยดับกลิ่นคาวผล ใช้ผลสด นำมาประกอบอาหาร หรือนำมาดองใช้เป็นยาฟอกเลือดในสตรี ขับลมในลำไส้ ขับระดู แก้ลมจุกเสียด แก้โรคลักปิดลักเปิด และใช้บำรุงประจำเดือน หรือใช้ผลสด นำมาผิงไฟให้เกรียมแล้ว ละลายให้เข้ากับน้ำผึ้ง ใช้ทาลิ้นให้เด็กที่เกิดใหม่ เป็นต้น
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=mor&func=mor1

มะแขว่น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston.วงศ์ : Rutaceaeชื่ออื่น : ลูกระมาศ หมากมาศ (กรุงเทพ) กำจัดต้น พริกหอม (ภาคกลาง) มะแขว่น หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 12-20 เมตร เปลือกสีขาว มีหนามแหลมรูปกรวยปลายตรงหรือโค้งเล็กน้อย ขึ้นตามลำต้น กิ่ง และก้านใบ ใบ เป็นใบประกอบเรียงสลับแบบขนนก ใบยาว 15-20 เซนติเมตร ใบย่อย 10-28 ใบ อาจมีใบย่อยที่ปลายหรือไม่มีก็ได้ ก้านใบย่อยสั้น 0.5-1.0 เซนติเมตร ขนาดใบกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ปลายใบเรียวแหลม ดอก เป็นช่อแบบ panicle ออกที่ปลายยอดหรือซอกก้านใบ ช่อดอกยาว 10-21 เซนติเมตร ก้านช่อยาว ดอกเล็กสีขาวอมเขียวเป็นกระจุกอยู่ตอนปลายช่อ ดอกตัวเมียและดอกตัวผู้อยู่คนละต้น กลีบรองดอก 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เรียงสลับกับเกสรตัวผู้ 4 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่เหนือเกสรตัวผู้ ภายในมี 1 ช่อง ผล รุปร่างกลมผลอ่อนสีเขียวเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.7 เซนติเมตร รสเผ็ดซ่ามาก เมื่อแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาล และแตกอ้าเห็นเมล็ดสีดำเป็นมัน ออกดอก-ผล ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนแหล่งที่พบ : บ้านซำตะเคียน บ้านซำนกเหลือง ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้านอื่นๆ ใช้ใบเป็นอาหาร ผลแก่และเมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศผสมเครื่องแกงของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=234&mode=thread&order=0&thold=0


มะนาวชื่ออื่น ๆ : มะนอเกละ, ปะนอเกล, มะเน้าด์เล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ปะโหน่งกลยาน (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ส้มมะนาว (ทั่วไป), หมากฟ้า (เงี้ยง-แม่ฮ่องสอน), โกรยชะม้า (เขมร-สุรินทร์), ลีมานีปีห์ (มลายู-ภาคใต้)ชื่อสามัญ : Common lime, Limeชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.วงศ์ : RUTACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ยืนต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ .5-3.5 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยง ส่วนกิ่งก้านอ่อนมีหนามยาวประมาณ 3-13มม. ใบ : ใบออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบกลมมีปีกแคบ ๆ ริมขอบใบหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-5.5 ซม. ยาวประมาณ 2.5-9 ซม. ดอก : ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ มีประมาณ 5-7 ดอก หรืออาจเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกมีสีขาว กลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปรียาว ปลายกลีบแหลม มีขนาดยาวประมาณ 7-12 มม. กว้างประมาณ 2.5-5 มม. ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียเล็ก ๆ อยู่ ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 นิ้ว ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผลก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อในผลจะแยกออกเป็นซีก ภายในเนื้อก็จะมีเมล็ด ลักษณะกลมรี สีเหลืองอ่อน ผลหนึ่งก็จะมีหลายเม็ดการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ไม่ชอบที่แฉะ หรือที่ที่มีน้ำขัง มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เปลือกผล รากสรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสดประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินใช้ เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้เจริญอาหาร เป็นต้น ผล ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำกิน หรือกินสด เป็นยาแก้กระหาย แก้ร้อนใน บำรุงธาตุเจริญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟัน และถ่ายพยาธิ หรือใช้ผลดองเกลือ จนเป็นสีน้ำตาล ใช้เป็นยาขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ เป็นต้น เปลือกผล ใช้เปลือกผลแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร ขับลม เป็นต้น ราก ใช้รากสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทก หรือจากการหกล้มแก้ปวด และแก้พิษสุนัขบ้ากัด เป็นต้นตำรับยา :
1. แก้กระหายน้ำ คอแห้ง ไม่มีเสียง ให้ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำประมาณ 1 ถ้วยชา และ ผสมกับเกลือ น้ำตาลทราย ในปริมาณพอเหมาะ จากนั้นก็นำมาชงกับน้ำอุ่นหรือใช้ผสมกับน้ำแข็งรับประทาน 2. เมื่อถูกแมงป่องต่อย หรือตะขาบกัด ให้ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่ถูกกัด 3. คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ให้ใช้เปลือกผลสด นำมาขยี้ผิวสูดดม 4. ปวดฝี ให้ใช้รากสด นำมาฝนกับสุราแล้วใช้ทาข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ผลมะนาวเมื่อนำมาสกัด จะได้สาร naringin และ hesperidin ซึ่งสารนี้จะมีฤทธิ์ในการแก้อาการอักเสบของแผลต่าง
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=mor&func=mor16

มะระขี้นก

มะระขี้นก เป็นไม้เถา มีมือเกาะลำต้น เลื้อยพาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน อายุเพียง 1 ปี ลำต้นมีสีเขียว ขนาดเล็กยาว ผิวมีขนขึ้นประปราย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบหยักเว้าลึกเข้าไปในตัวใบ 5-6 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน และมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย ใบกว้าง 4.5-11.5 เซนติเมตร ยาว 3.5-10 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลือง ออกบริเวณง่ามใบ ดอกแยกเพศกัน แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยงห่อหุ้มเอาไว้ กลีบดอกรูปขอบขนาน หรือรูปไข่ หรือพบทั้งสองแบ ผลมะระมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวขรุขระ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จัดจะเห็นเป็นสีส้ม หรือแดงอมส้ม ผลคล้ายมะระจีน แต่มีขนาดใหญ่กว่า เมล็ดรูปไข่ตลับ ทุกส่วนที่อยู่เหนือดิน ของพืชมีรสขม
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผักตามฤดูกาล ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักออกยอดในฤดูฝน การปรุงอาหาร คนไทยทุกภาครับประทานมะระเป็นผัก ไม่นิยมรับประทานสด เพราะมีรสขม โดยเฉพาะผล จะขมมาก วิธีปรุงอาหาร โดยการนึ่ง หรือลวกให้สุกก่อน และรับประทานเป็นผักจิ้ม ร่วมกับน้ำพริก หรือป่นปลาของชาวอีสาน หรืออาจนำไปผัด หรือแกงร่วมกับผักอื่นก็ได้ การนำผลมะระไปปรุงเป็นอาหารอื่น เช่น ผัดกับไข่ เป็นต้น นิยมต้มน้ำ และเทน้ำทิ้ง 1 ครั้ง ก่อน หรืออาจใช้วิธีคั้นกับน้ำเกลือ เพื่อลดรสขมก่อนก็ได้ รสชาติยอดอ่อน ใบ และผลอ่อน มีรสขมเย็น สรรพคุณเป็นยาเจริญอาหาร ระบาย แก้ไข้ บำรุงร่างกาย
ประโยชน์ทางยา
ในตำรายาไทย บันทึกว่า มะระเป็นยาเจริญอาหาร ระบาย แก้โรคลมเข้าข้อ หัวเข่าบวม เป็นยาบำรุงน้ำดี แก้โรคของม้าม โรคตับ เป็นยาขับพยาธิในท้อง ส่วนน้ำต้มของใบมะระ มีสรรพคุณระบายอ่อนๆ น้ำต้มของผลมะระ สรรพคุณแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู
ในต่างประเทศ มีการใช้มะระเป็นยาเช่นกัน ในประเทศฟิลิปปินส์ โปโตริโก และศรีลังกา มีการใช้มะระรักษาโรคเบาหวาน แพทย์จีนเชื่อว่า มะระมีพลังของความเย็น สรรพคุณขับพิษ ผลมะระช่วยฟอกเลือด บำรุงตับ มีผลดีต่อสายตา และผิวหนัง แม่บ้านชาวจีน มักจะปรุงอาหารด้วยมะระ ให้คนในครอบครัวรับประทาน ยามเป็นสิวที่ใบหน้า และร่างกาย
สำหรับประโยชน์ของมะระในการรักษาโรคเบาหวาน มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า มะระมีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือดในคน และสารที่ออกฤทธิ์ คือ Polypeptide-p สำหรับเมล็ดของมะระ มีผู้พบสารลดน้ำตาลเช่นกัน แต่การใช้เมล็ดมะระ ต้องระมัดระวังฤทธิ์ที่ก่อให้เกิด การแท้งด้วย
http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=212&mode=thread&order=0&thold=0

แมงลักชื่ออื่น ๆ : มังลัก (ภาคกลาง), กอมก้อขาว (ภาคเหนือ), ผักอีตู่ (เลย)ชื่อสามัญ : Labiatae, Hairy Basilชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum americana Linn.วงศ์ : LABIATAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต โคนลำต้นแข็ง ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบ : ใบออกเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบกลมรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวอ่อน มีขนนิ่ม กลิ่นใบหอม ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง หรือยอด ดอกมีลักษณะเป็นกลีบสีขาว ดอกจะคงทนและอยู่ได้นาน ผล : เมื่อกลีบดอกร่วง ก็จะเป็นผล ผลมีขนาดเล็ก สีน้ำตาลเข้ม ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เม็ดการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนต่อแสงแดดได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ เมล็ดสรรพคุณ :
ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ไอ ขับเหงื่อ ขับลม กระตุ้น และแก้โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น ใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง หรือใช้กากใบที่ตำทาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง เมื่อนำมาแช่น้ำจะเกิดการพองตัวแล้วใช้กินเป็นยาระบาย ลดความอ้วน ช่วยดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด ขับเหงื่อ และช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระเป็นเมือกลื่นในลำไส้ เป็นต้น
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=mor&func=mor34

ไม่มีความคิดเห็น: