วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ท)
ทานตะวัน
ชื่ออื่น ๆ : บัวทอง ทานตะวัน (ภาคเหนือ), ชอนตะวัน (ภาคกลาง) เซี่ยงยื้อขุย (จีนกลาง), เหี่ยง
หยิกขุ้ย (แต้จิ๋ว)ชื่อสามัญ : Sunflowerชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus L.วงศ์ : COMPOSITAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่อายุเพียง 1 ปี ลักษณะของลำต้นเป็นแกนแข็ง ตั้งตรง มีขนขึ้นเป็นกลายแข็ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-3.5 เมตร ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปกลมรี โคนใบโค้งเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยักย่อยเป็นแบบฟันปลา บริเวณหลังและใต้ท้องใบ มีขนสากขึ้นประปราย ใบมีขนาดยาวประมาณ 4-12 นิ้ว กว้างประมาณ 3.5-10 นิ้ว ก้านใบยาว ดอก : ดอกออกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุก ขนาดใหญ่จะออกบริเวณยอด หรือรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะของดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ตรงกลางดอกเป็นเกสรตัวเมีย 1 อัน และเกสรตัวผู้ 5 อัน กลีบดอกวงในมีสีเหลือง ส่วนกลีบดอกวงนอกมีสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองทอง มีขนาดยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ฐานดอกมีสีเขียวเชื่อมติดกัน ผล : มีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีสีขาว สีเทา หรือสีดำ ขนาดยาวประมาณ 6-17 มม. ภายใน ผลมีเมล็ด เพียง 1 เมล็ดเป็นสีเหลืองอ่อนการขยายพันธุ์ : ทานตะวันเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ มีการขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด เพาะส่วนที่ใช้ : ดอก ฐานรองดอก แกนลำต้น ใบ เมล็ด เปลือกเมล็ด และรากสรรพคุณ : ดอก ใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้วิงเวียนศีรษะ ช่วยขับลม บีบมดลูก ทำให้ตาสดใส และรักษาใบหน้าตึงบวม ฐานรองดอก เป็นยาแก้อาการปวดรอบเดือน ปวดศีรษะ ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง เนื่องจากโรคกระเพาะอักเสบ และแก้อาการปวดบวมฝี เป็นต้น แกนลำต้น เป็นยาแก้โรคนิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นโลหิต ปัสสาวะขุ่นขาว ช่วยขับปัสสาวะได้ดี ไอกรน และยังเป็นยาช่วยรักษาบริเวณแผลที่มีโลหิตออก เป็นต้น ใบ เป็นยาแก้โรคเบาหวาน และโรคหอบหืด เมล็ด ในเมล็ดมีน้ำมันประมาณ 50% และมี linoleic acid 70๔ phosphatide, phospholipid, B-sitosterol น้ำมันในเมล็ดสามารถช่วยลดไขมันในเส้นโลหิต เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ขจัดเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับหนองใน แก้ฝีฝักบัว แก้โรคบิด และยังช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นต้น เปลือกเมล็ด มีน้ำมัน 5.17% ขี้ผึ้ง 2.96% โปรตีน 4% และมี cellulose, pentosan และ lignin ใช้เป็นยารักษาแก้อาการหูอื้อ ราก เป็นยาแก้ระบาย ขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ และแก้อาการฟกช้ำ ปวดท้องแน่นหน้าอก เป็นต้นข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับสตรีที่ตั้งครรภ์ถิ่นที่อยู่ : ทานตะวัน เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาเหนือตำรับยา :
1. แก้อาการปวดหัว ตาลาย ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25-30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง 2. แก้อาการช่วยขับปัสสาวะขุ่นขาว และขับปัสสาวะ ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม) และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน 3. แก้อาการปวดท้องโรคกระเพาะ และปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่เป็นรอบเดือน ให้ใช้ฐานรองดอก 1 อัน หรือประมาณ 30-60 กรัม และกระเพาะหมู 1 อัน แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง ประมาณ 30 กรัม ต้มกรองเอาน้ำรับประทาน 4. แก้อาการมูกโลหิต ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม 5. ช่วยลดความดันโลหิต ให้ใช้ใบสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน 6. แก้อาการปวดฟัน ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเกากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน 7. โรคไอกรน ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล ทรายขาว ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน 8. แก้อาการไอ ให้ใช้เมล็ดคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มกิน 9. แก้อาการหูอื้อ ให้ใช้เปลือกเมล็ดประมาณ 10-15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน 10. ขับพยาธิไส้เดือน ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้ม น้ำรับประทาน 11. แผลที่มีเลือดไหล ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอก บริเวณแผลข้อมูลทางคลีนิค :
1. จากผู้ป่วยที่มีเป็นโรคเกี่ยวกับ เต้านมอักเสบ จำนวน 122 คน ได้มีการรักษา โดย การใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว นำมาหั่นให้เป็นฝอย คั่วให้เกรียม จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำอุ่น หรือสุรา แล้วใส่น้ำตาลทรายขาวพอประมาณ ให้ผู้ป่วยกินวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 10-15 กรัม ปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ได้ผลดี 2. จากการทดลองผู้ป่วย ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 10 คน โดยการใช้ฐาน รองดอก ที่แห้งแล้ว ประมาณ 45 กรัม นำมาบดให้ละเอียด และทำเป็นยาน้ำเชื่อม 100 มล. ให้ผู้ป่วยกิน วันละ 3 ครั้ง ๆ ละ20 มล. หลังจากที่รักษาแล้ว 60 วัน ปรากฏว่าอาการของผู้ป่วยมีความดันโลหิตลดลง และอาการดีขึ้น 4 คน อาการดีขึ้นเล็กน้อยมี 4 คน และอีก 2 คน ไม่มีอาการดีขึ้นเลย 3. จากการทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับข้อกระดูกอักเสบ และฝี จำนวน 30 คน โดยใช้ฐานรองดอกในประมาณพอดี นำมาต้มน้ำเคี่ยวให้เหลว เหมือนกับขี้ผึ้งเหลว จากนั้นก็นำมาพอกในบริเวณฝีของผู้ป่วย ปรากฏว่าอาการของผู้ป่วยได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
1. ใบ สกัดด้วยแอลกอฮอล์ (0.2%) มีฤทธิ์สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของพารามีเซียม (paramecium) และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ แบคทีเรีย Bacillus coli และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาต้านโรคมาลาเรีย และช่วยเสริมฤทธิ์ยาควินิน 2. ดอก เมื่อนำมาสกัดจะได้น้ำจากใบ นำมาทดลองกับกระต่าย ด้วยการฉีดเข้าเส้น เลือดดำจะทำให้ความดันโลหิตต่ำ และจะกระตุ้นการหายใจ หรือเมื่อนำมาหยอดลงบริเวณใบหูของกระต่าย ทำให้เส้นเลือดขยายตัว และยังทำให้การบีบตัวของลำไส้เล็กเพิ่มขึ้น แต่เมื่อนำมาทดลองกับแมวโดยการฉีดเข้าในผิวหนัง จะมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงกว่าเดิม 3. น้ำมันจากดอกทานตะวัน เมื่อนำมาผสมกับอาหารแล้วให้กระต่ายกิน ทำให้มีผล ต่อภูมิคุ้มกันต่อเชื้อวัณโรคเพิ่ม 4. ฐานรองดอก เมื่อนำมาสกัดสารออกด้วยแอลกอฮอล์แล้วนำมาทดลองกับแมว ด้วยการฉีดเข้าไปในเส้นโลหิตดำ มีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ และทำให้แมวสลบ 5. เมล็ด น้ำมันในเมล็ดมีสารชนิดหนึ่งชื่อ ฟอสฟอไลปิด (Phospholipid) มีฤทธิ ช่วยลดโคเลสเตอรอล ในเลือดของหนูขาว แต่ผลการรักษายังเห็นไม่
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Flower&func=flower16

ไม่มีความคิดเห็น: