วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ส)
สาระแหน่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mental cordifolia Opiz.วงศ์ Labiatae ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น สะระแหน่สวน (ภาคกลาง) มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้) หอมด่วน หอมเตือน (ภาคเหนือ) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สาระแหน่เป็นพืชล้มลุกที่เลื้อยปกคลุมดิน มีลำต้นขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเป็นรูปไข่หรือรูปวงรีเห็นเส้นใยชัดเจน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบสั้น ทั้งใบและลำต้นมีกลิ่นหอม แหล่งที่พบ พบได้ทั่วไปตามบ้าน เพราะนิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว สารสำคัญที่พบ ทั้งใบและลำต้นมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารเมนทอล (Menthol) ไลโมนีน (Limonene) นีโอเมนทอล (Neomenthol) เป็นต้น สรรพคุณ สะระแหน่ มีฤทธิ์เย็นรสเผ็ด น้ำมันสาระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ใช้เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการหวัดลมร้อน ใช้ผสมยาหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอ 1. รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง 2. รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ 3. แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด 4. ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก 5. รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี 6. รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร ใบสดและลำต้น วิธีใช้ประกอบอาหาร ใบสะระแหน่ใช้ลดกลิ่นคาวของอาหารจำพวกพร่า ยำ และลาบ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องดื่มและเหล้า

ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง 1. ใบสะระแหน่สดและยอดอ่อน มีสรรพคุณดีกว่าใบสะระแหน่แห้ง 2. มีรายงานว่าใบสะระแหน่สามารถระงับอาการปวดได้ดีกว่ายาแก้ปวด วิธีปลูก ขยายพันธุ์โดยการปักชำ ใช้ลำต้นและกิ่งก้านที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป ปักลงในภาชนะหรือแปลงเพาะชำ โดยปักให้กิ่งเอนไปตามดิน รดน้ำให้ชุ่มพอสมควร ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนซุย
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable31

ไม่มีความคิดเห็น: