วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ส)
สารภี
สารภี (Saraphi)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis Kosterm.
Syn.: Ochrocarpus siamensis
T.Anders
วงศ์ GUTTIFERAE
ชื่ออื่นๆ ภาคกลาง : สารภี (Sara-phi) ภาคใต้ : สร้อยภี (Soi-phi)
ถิ่นกำเนิด ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม
รูปลักษณะ
ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 10 - 15 เมตรไม่ผลัดใบ
เปลือก สีเทาดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดลำต้น เรือนยอดเป็น พุ่มทึบ
ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่สลับแผ่นใบรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4 - 6.5 เซนติเมตร ยาว 14 - 20 เซนติเมตร ปลายมนกว้าง ๆ โคนสอบเรียวเนื้อใบหนา
ดอก สีขาว ก่อนโรยสีเหลืองกลิ่นหอม เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 เซนติเมตร ออกช่อเดี่ยว ๆ หรือหลายช่อเป็นกระจุกตามกิ่งกลีบเลี้ยง 2 กลีบ กลีบมนเป็นกะพุ้งโคนกลีบเชื่อมติดกัน
ผล รูปกระสวย ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีเหลือง มีเนื้อสีเหลืองหรือสีแสดหุ้มเมล็ด
นิเวศวิทยา ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 20 - 400 เมตร
ออกดอก มกราคม - มีนาคม เป็นผล กุมภาพันธ์ - เมษายน
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ผลรับประทานได้ มีรสหวาน เนื้อไม้ ทำเสา พื้น ฝา ดอกปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน เข้ายาลม บำรุงปอด เป็นหนึ่งในเกสรทั้ง 5 ทั้ง7 และทั้ง 9 ผลรสหวาน รับประทานได้
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอกสดและแห้ง-ใช้เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงเส้นประสาท แก้วิงเวียนหน้ามืด ตาลายและชูกำลัง ดอกตูม-ย้อมผ้าไหมให้สีแดง ผลสุก-รับประทานได้มีรสหวาน
http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=232&mode=thread&order=0&thold=0

ไม่มีความคิดเห็น: