วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ดอกไม้สมุนไพร

(หมวด ก)
ดอกแก้ว
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Murraya paniculate Jack วงศ์ รูตาซีอี : Fam, Rutaceae ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือเรียกว่า แก้วพริก ตะไหลแก้ว ได้แก่ แก้วขี้ไก่ แก้วลาย (สระบุรี), จ๊าพริก , จ้าพริก (ลำปาง), แก้วขาว (กลาง), กะมูงานิง (ปัตตานี), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), เกาหลี่เฮียง (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้นแก้วเป็นไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม เปลือกสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน ใบออกเป็นคู่และเป็นใบรวมแบบขนนก ใบย่อยมีรูปไข่ หรือรูปไข่ที่ค่อนข้างยาว ใบมีกลิ่นหอม เมื่อส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นจุดต่อมน้ำมันบนใบ ใบมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ก้านดอกสีเขียวอ่อน ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อดอก ผลสีหมากสวยงามมาก ขนาดเท่าผลมะแว้งเขื่อง ๆ รูปไข่รี ปลายผลทู่ สีส้มอมแดง ภายในมี 1-2 เมล็ด ผลสุกรับประทานได้แก้วเป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกง่าย ตอนหรือหักชำได้ มีขึ้นประปรายตามป่าดิบทั่วไป และตามบ้านเรือนมักจะปลูกเป็นรั้วเป็นไม้ประดับ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด
รสและสรรพคุณยาไทย : ในตำรับยาไทยมิได้ระบุรสของใบแก้ว แต่เมื่อขยี้ใบแก้วดมจะมีกลิ่นหอม ใบแก้วใช้ปรุงเป็นยาขับโลหิตระดู และยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับผายลม บำรุงธาตุ และระงับอาการปวดฟันได้โดยจะทำให้เกิดอาการชาสรุปประโยชน์ ใบ เชื่อว่าปรุงเป็นยาขับระดู แก้จุกเสียดแน่น เฟ้อ บำรุงโลหิต ดอก นำมากลั่นเป็นของผสมในเครื่องหอม ผลสุก รับประทานได้ ราก กำลังมีการทดลองว่ามีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาคุมกำเนิดหรือไม่ เนื้อไม้ ละเอียดขัดตกแต่งได้ง่าย มีน้ำมันในเนื้อไม้จึงนิยมใช้ทำเครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือ ไม้ถือ ไม้บรรทัด ด้ามปากกา ด้ามร่ม ทำแกะสลัก ซอด้วง ซออู่

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ใบประกอบด้วย Volatile oil และ indole น้ำมันหอมระเหยของใบแก้วมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยสารประเภท Sesquiterpenes จากการศึกษาวิจัยพบว่า ใบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Micrococcus pyogenes ver. Aureus และ E.coli
วิธีใช้ใบแก้วใช้รักษาอาการปวดฟัน โดยนำใบสดตำพอแหลกแช่เหล้าโรง ในอัตราส่วน 1.5 ใบย่อยหรือ 1 กรัม ต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร และนำเอาน้ำยาที่ได้มาทาที่บริเวณที่ปวดฟัน
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Flower&func=flower9

ไม่มีความคิดเห็น: