วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ม)
มะปรางชื่ออื่น ๆ : สตา (มลายู), มะปราง (ไทย-ปัตตานี)ชื่อสามัญ : -ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea macrophylla Griff.วงศ์ : ANACARDIACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีลำต้นและเรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นค่อนข้างขรุขระเป็นร่อง มีสีน้ำตาลอ่อน ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเรียงสลับกัน ซึ่งใบจะมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบเรียวแหลมมีติ่ง ใบมีขนาดยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ก้านยาวประมาณ 1-2 ซม. ดอก : ดอกออกเป็นช่อกระจาย ลักษณะของดอกเป็นดอกสีเหลือง มีขนาดเล็ก กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีประมาณ 3-5 กลีบ ดอกมักจะออกอยู่ข้างหลังใบของมัน ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 1.5-2.0 นิ้ว ผลเปลือกเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลแก่หรือสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 1 เม็ด เป็นรูปยาวรีการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลาง ชอบอากาศชื้น ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้เมล็ดเพาะ
ส่วนที่ใช้ : ราก ผลสรรพคุณ : ราก ใช้เป็นยาถอนพิษไข้ต่าง ๆผล ใช้รับประทานเป็นผลไม้ถิ่นที่อยู่ : มะปราง เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นตามบริเวณป่าดงดิบ ปลูกมากในทางภาคใต้ของไทย

http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=381

มะพร้าว
ชื่ออื่น ๆ : หมากอูน, หมากอู๋น, มะพร้าว (ทั่วไป), คอส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะพร้าว (ภาคใต้), ดุง (ชอง-จันทบุรี), ย่อ (มลายู-ภาคใต้), โพล (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์), เอี่ยจี้ (จีน)ชื่อสามัญ : Coconutชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera Linn.วงศ์ : PALMAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีลำต้นสูงชะลูด จะไม่แตกกิ่งก้านสาขา ขนาดของลำต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ใบ : ลักษณะของใบออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันเป็นรูปขนนก ใบรวมก้านหนึ่งยาวประมาณ 3-7 เมตร กว้างประมาณ 1-1.4 เมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็นแผ่นแคบยาว ปลายใบแหลม พื้นผิวเรียบเป็นมัน มีสีเขียวแก่ ขนาดของใบยาวประมาณ 2-3 ฟุต กว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ออกตามบริเวณกาบที่หุ้ม ดอกย่อยมีลักษณะ เป็นดอกขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ ในช่อหนึ่ง ๆ มีทั้งดอกตัวผู้และตัวเมีย ดอกตัวผู้จะอยู่ปลาย และดอกตัวเมียจะอยู่บริเวณโคนช่อดอก ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม หรือรูปรี มีขนาดยาวประมาณ 8-14 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 8-9.5 นิ้ว เปลือกนอกเรียบเกลี้ยง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่ก็จะสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในจะแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลมีสีขาวนุ่ม และภายในมีน้ำใสมีรสจืด หรือบางทีก็จะมีรสหวานการขยายพันธุ์ : มะพร้าว เป็นพรรณไม้ที่ปลูกขึ้นได้ดีในดินปนทราย มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะผลของมันส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น เปลือกผล เนื้อ น้ำมันมะพร้าว น้ำมัน กะลา ดอก รากสรรพคุณ : เปลือกต้น ใช้เปลือกต้นที่สด นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้าแปรงสีฟัน แก้เจ็บปวดฟัน และใช้ทาแก้หิด เป็นต้น เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แก่แห้งแล้ว นำมาเป็นยาแก้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ และใช้ในการห้ามเลือดแก้ปวดเลือดกำเดาไหล เป็นต้น เนื้อมะพร้าว ใช้เนื้อมะพร้าวสด หรือแห้ง นำมาขูดให้เป็นฝอยใส่น้ำ แล้วเคี่ยวเอาน้ำมัน ใช้กินเป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ เป็นต้น
น้ำมันมะพร้าว ใช้น้ำมะพร้าวสดประมาณ 1-2 ลูก กินเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิต และบวมน้ำเป็นต้น น้ำมัน น้ำมันที่ได้จากเนื้อ หรือ จากกะลา ใช้กินเป็นยาบำรุงกำลัง หรือใช้ทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก และใช้ทาผิวหนังที่แตกเป็นขุย นอกจากนี้ยังใช้เป็นน้ำมันทาผมได้อีกด้วย กะลา ใช้กะลามะพร้าวแห้ง นำมาเผาให้เป็นถ่านดำแล้วนำมาบดให้เป็นผงละเอียด ผสมน้ำกินวันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 0.5-1 ช้อนชา กินเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปวดกระดูกและเอ็น เป็นต้น ดอก ใช้ดอกสดอ่อน นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เจ็บปากเจ็บคอ แก้ท้องเสีย เป็นต้น ราก ใช้รากสด นำมาต้มกินเป็นยาแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ หรือเอาน้ำอมหรือบ้วน แก้เจ็บปากเจ็บคอข้อมูลทางคลีนิค : จากการทดลองให้คนไข้กินน้ำมะพร้าว ผสมกรดโซอิคประมาณ 0.25% จำนวน 18 คน เพื่อให้ขับพยาธิตัวตืด มีผลปรากฏว่ามี 2 คน เท่านั้นที่ขับพยาธิออก และทดลองให้คนไข้กินน้ำและเนื้อมะพร้าว เพื่อขับพยาธิ จำนวน 69 คน มี 30 คน เท่านั้นที่ขับพยาธิออกมา ส่วนที่เหลือนั้นก็มีอาการทุเลาลงข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
1. จากการแยกน้ำมะพร้าวจะได้ สารพวกโปลีแซคคาไรด์แล้วนำมาทดลองกับหนูเล็ก ด้วยการฉีดมีผลทำให้หนูเล็กมีความต้านทานการติดเชื้อวัณโรคได้ดี และยังมีปฎิกริยากับซีรั่ม ของหนูตะเภาที่เคยติดเชื้อวัณโรคมาก่อน 2. สารที่สกัดได้จากกะลามะพร้าว มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา แต่ไม่มีผลในการยับยั้งในการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย 3. เมื่อนำน้ำมะพร้าวมาทดลองฉีดเข้า ในหลอดเลือดดำของสุนัขมีผลทำให้การเต้นของหัวใจช้า และการหายใจลึกและถี่ขึ้น 4. จากการสกัดสารจากก้านและใบด้วยแอลกอฮอล์ โดยนำมาทดลองกับสัตว์ทดลอง มีผลในการกระตุ้นลำไส้เล็กของหนูตะเภา และเมื่อนำมาฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของสุนัขมีผลทำให้สุนัขสลบ และลดความดันโลหิต เป็นต้น
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=382

มะเฟือง
ชื่ออื่น ๆ : มะเฟือง (ทั่วไป), เฟือง (ภาคใต้), สะบือ(เขมร)ชื่อสามัญ : Star Fruit, carambolaชื่อวิทยาศาสตร์ : Averrhoa carambloa Linn.วงศ์ : AVERRHOACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับตะลิงปลิง มีลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน เปลือกของลำต้นค่อนข้างขรุขระมีตุ่มเล็ก ๆ ทั่วไป ใบ : เป็นใบรวม จะออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามแผง แผงหนึ่งมีประมาณ 7-15 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ริมขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบย่อยตรงปลายแผงมักจะมีขนาดใหญ่กว่าใบตรงโคนแผง ดอก : ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามบริเวณกิ่ง และลำต้น ดอกมีสีม่วงอ่อน เป็นดอกขนาดเล็ก ผล : เมื่อดอกร่วงโรย ก็จะกลายเป็นผล ลักษณะของผลเป็นรูปเฟืองมีกลีบอยู่ 5 กลีบ เมื่อยังอ่อนผลจะเป็นสีเขียว แต่พอผลสุกหรือแก่เต็มที่ ผลก็จะกลายเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ ต้องการน้ำและความชื้นปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้เมล็ดส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้นชั้นใน ใบ ดอก ผลสรรพคุณ : เปลือกลำต้นชั้นใน นำมาปรุงเป็นยาผสมกับไม้จันทร์ และชลูด ใช้ทาภายนอกแก้ผดผื่นคันทั่วไปใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียด ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้ปวดฟัน และใช้ทารักษาอีกสุกอีใส เป็นต้นใบและราก ใช้ใบและรากสด นำมาต้มเอาน้ำเป็นยาแก้พิษร้อน แก้ไข้ใบและผล ใช้ใบและผลสด นำมาต้มเอากินเป็นยาแก้ไข้ แก้อาเจียน เป็นต้น ดอก ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ หรือใช้ดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้ทาแก้แพ้ lacquerผล ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บิด ขับน้ำลาย แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ไข้ แก้กระหาย แก้เมา แก้ท้องร่วง ลดอาการอักเสบ หรือใช้ผสมกับสารส้ม หรือสุรากินแก้โรคนิ่ว เป็นต้นขอห้ามใช้ : ผลมะเฟือง สตรีที่ตั้งครรภ์ไม่ควรที่จะรับประทานมาก เพราะอาจจะทำให้แท้งลูก
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=384

มะม่วงชื่ออื่น ๆ : มะม่วงบ้าน (ทั่วไป), แป (ละว้า-เชียงใหม่), หมักโม่ง (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ส่าเคาะส่า, สะเคาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะม่วงสวน (ภาคกลาง), โตรัก (ชาวบน-นครราชสีมา), เจาะช้อก, ช้อก (ชอง-จันทบุรี), ขุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), โคกและ (ละว้า-กาญจนบุรี), เปา (มลายู-ภาคใต้), สะวาย (เขมร), มั่วก้วย (จีน)ชื่อสามัญ : Mango Treeชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica Linn.วงศ์ : ANACARDIACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมายจนดูหนาทึบ เปลือกของลำต้นจะมีสีน้ำตาลอมดำ พื้นผิวเปลือกขรุขระ เป็นร่องไปตามแนวยาวของลำต้น ใบ : ลักษณะของใบเป็นรูปหอก มีสีเขียวเข้ม เป็นไม้ใบเดี่ยวจะออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามก้านใบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบมน เนื้อใบค่อนข้างจะหนา ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีประมาณ 15-20 ดอก ลักษณะของดอกเป็นสีเหลืองอ่อน หรือสีนวล ๆ เป็นดอกที่มีขนาดเล็ก ผล : เมื่อดอกโรยก็จะติดผล มีลักษณะต่างกันแล้วแต่ละพรรณเช่น บางทีมีเป็นรูปมนรี ยาวรี หรือเป็นรูปกลมป้อม ผลอ่อนมีเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ภายในผลมีเมล็ด ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียวการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนผสมพิเศษ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการทาบกิ่งส่วนที่ใช้ : เปลือกลำต้น ใบ ผล เมล็ดสรรพคุณ : เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้โรคคอตีบ แก้เยื่อ ปากอักเสบ เยื่อเมือกในจมูกอักเสบ หรือใช้สวนล้างช่องคลอดแก้อาการตกขาว ใบ ใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้อืดแน่น หรือใช้ใบสดตำให้ละเอียดพอกบริเวณแผลสด หรือใช้ล้างบาดแผล เป็นต้น ผล ใช้ผลสด นำมากินเป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียนวิงเวียน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้บิดถ่ายเป็นเลือด และใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร เป็นต้น เมล็ด ใช้เมล็ดสด ประมาณ 2-3 เม็ด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร ตกขาว ตกเลือด ท้องอืด แก้ไส้เลื่อน และแก้ไอ ข้อห้ามใช้ : สำหรับบุคคลที่รับประทานอาหารมากเกินไป หรือผู้ป่วยหลังจากฟื้นไข้ใหม่ ๆ ห้ามกินผลมะม่วงสุกรวมกับกระเทียมและของเผ็ด ทุกชนิดอื่น ๆ : มะม่วงเป็นพรรณไม้ใหญ่ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลืองอ่อน นอกจากใช้เป็นสมุนไพรแล้ว ยังใช้ก่อสร้างตกแต่งภายในบ้าน หรือใช้ทำหีบกล่องได้ข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
1. น้ำที่คั้นจากใบ เมื่อนำมาทดสอบกับคน ถูกผิวหนัง ทำให้เป็นผื่นคัน หรือทำให้แพ้ได้ 2. น้ำที่กรองเอาจากการต้มของใบ เปลือกลำต้น และผลดิบ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli, Micrococcus pyogenes 3. สัตว์ตัวเมีย เมื่อกินใบสดของมะม่วงมีอาการ คล้ายกับได้รับฮอร์โมนเพศหญิง

http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=388

มะละกอชื่ออื่น ๆ : มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ), สะกุยเส่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากซางพอ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), หมักหุ่ง (นครพนม), ลอกอ (ใต้), ก้วยลา (ยะลา), แดงต้น(สตูล), มะเต๊ะ (มลายู-ปัตตานี), เจียะกวย, ฮวงบักกวย (จีน)ชื่อสามัญ : Pawpaw, Papaya, Tree Melonชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papaya Linnวงศ์ : CARICACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้เนื้ออ่อน ฉ่ำน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-7 เมตร ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลวง ผิวเปลือกลำต้นค่อนข้างขรุขระเป็นร่องไปตามยาว ใบ : ลักษณะของใบเป็นหยัก เว้าลึก แยกเป็นแฉกประมาณ 7-9 แฉก แต่ละแฉกจะมีร้อยเว้าเล็ก ๆ เหมือนกับขนนก ใบมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 ฟุต ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ห้อยลง ลักษณะของดอกเป็นดอกตัวผู้ มีสีเหลือง หรือสีนวล กลีบดอกยาวประมาณ 2 ซม. กลิ่นหอม กลีบดอกบางโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ข้างในหลอดมีเกสร สำหรับดอกเพศเมีย ออกเป็นกระจุก หรือดอกเดี่ยว กลีบดอกยาวประมาณ 2.5 นิ้ว มีสีเหลือง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ข้างในหลอดมีเกสร ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม หรือกลมยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 4-12 นิ้ว ผลอ่อนมีเปลือกเป็นสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว แต่พอผลแก่ หรือสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม เนื้ออ่อนนุ่ม ข้างในผลมีเมล็ด เป็นรูปลักษณะมีสีดำหรือสีน้ำตาลดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 มม. ยาวประมาณ 6-7 มม.การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ต้องการน้ำค่อนข้างมาก เจริญเติบโต ได้ดีในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดส่วนที่ใช้ : ใบ ผล ยาง รากสรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้หอบหืด แก้โรคเหน็บชา และแก้บวมปวดใช้ใบแห้ง นำมาตำให้เป็นผงละเอียด นำมาชงกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะ หรือนำใบสดมาย่างไฟ หรือลวกกับน้ำร้อน แล้วใช้ประคบในขณะอุ่น ๆ ตามบริเวณที่ปวด แก้บวมปวดเจ็บ แก้ปวดวิถีประสาท ขับน้ำนม และแก้อาการบวมของโรคเท้าช้างได้ เป็นต้นผล ใช้ทั้งผลดิบและผลสุก นำมาต้มคั้นเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลือง ผลสุกเหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ เป็นต้นยาง ใช้ยางสด นำมาผสมกับน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง กินเป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ขับพยาธิ ขับประจำเดือน หรือใช้ยางสดทาภายนอก ช่วยกัดหูด ติ่ง ตาปลา เนื้องอกอื่น ๆ กัดรอยด่างดำ และทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่มได้ เป็นต้นราก ใช้รากสด (แห้ง) ประมาณ 30-60 กรัม (15-30 กรัม) นำต้มเอาน้ำกิน เป็นยาขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน แก้โรคหนองใน โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและไต หรือใช้ผสมเป็นยาแก้คุดทะราด และริดสีดวงทวาร เป็นต้นข้อห้ามใช้ :
1. ผู้ที่มีอาการแพ้ยางมะละกอ จะมีอาการผิดปกติ หรือจะมีผื่นคันขึ้น ให้หยุดใช้ทันที 2. หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทานราก ยางและเมล็ด เพราะอาจทำให้แท้งได้อื่น ๆ : ลำต้นและก้านใบใช้ต้ม ผ้าร่วมกับสบู่ หรือใช้แทนสบู่ ช่วยลดรอยคราบสกปรก หรือไขมัน
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=393


มังคุด
ชื่อไทย มังคุด ชื่อสามัญ Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana Linnวงศ์ Guttiferae ลักษณะโดยทั่วไปมังคุดเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 25–30? C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75–85% ดินควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินประมาณ 5.5–6.5 และที่สำคัญควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง มังคุดเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารค่อนข้างลึก ประมาณ 90–120 ซม. จากผิวดิน ดังนั้นจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกค่อนข้างนาน โดยต้นมังคุดที่สมบูรณ์ใบยอดมีอายุระหว่าง 9 –12 สัปดาห์เมื่อผ่านช่วงแล้งติดต่อกัน 21–30 วัน และมีการกระตุ้นน้ำถูกวิธีมังคุดจะออกดอก
ส่วนที่ใช้เป็นยาเปลือกผลสุกแห้ง มีรสฝาด ขนาดและวิธีใช้ใช้เปลือกผลแห้งครึ่งผล ต้มกับน้ำ ดื่มแต่น้ำ หรือใช้เปลือกผลแห้งย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใส 1/3 แก้ว รับประทานทุก ๆ 3 ชั่วโมงสรรพคุณรักษาอาการท้องเสีย ท้องเดิน การที่เปลือกมังคุดแห้ง สามารถรักษาอาการท้องเสีย ท้องเดินได้ เพราะมีสารแทนนิน ออกฤทธิ์เป็นยาฝาด
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=505

ไม่มีความคิดเห็น: