วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ห)
หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium cepa linn .cv group Aggregatum
ชื่อวงศ์ :Ascalonicum auct . non linn .
ชื่ออื่นๆ :ปะเซอก้อ ปะเซะส่า หอมแดง หอมไทย หอมบัว หอมเล็ก หอมหัว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก สูง 20-30 ซม. มีหัวใต้ดิน เกิดจากใบเกร็ด เรียงซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่กว้าง 1-3.5 ซม ยาว 1.5-4 ซม. มีหลายหัวเกาะกลุ่มด้วยกัน เปลือกหุ้มสีม่วงหรือสีน้ำตาล ใบเดี่ยว เกิดจากรากเรียงช้อนกัน รูปแถบ กว้าง 3-10 มม. ยาว 10-35 ซม. ดอกช่อซี่ร่ม รูปทรงกลม เกิดจากหัวใต้ดิน ดอกรูประฆังหรือคนโท กลีบรวม 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง สีเขียวถึงขาว ผลแห้งแตกได้ เป็น 3 ภู เมล็ดแบนสีดำ
สรรพคุณทางยา:
หัว ขับลมในลำไส้ แก้หวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้อันบังเกิดแก่จักษุ แก้ไข้อันบังเกิดแก่ทรวงแก้โรคตา ขับเสมหะ แก้โรคในปาก บำรุงเส้นผมแก้ลมพรรดึก เจริญไฟธาตุ แก้กำเดา แก้อาการเมาค้างจากเหล้า แก้สะอึกแก้ท้องเสีย เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต
ใบ :แก้ท้องผูกแก้ลม เจริญอาหาร แก้กำเดา แก้หวัด แก้ฟกช้ำ
เมล็ด :แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ แก้อาเจียนเป็นเลือด
วิธีใช้และการรักษา : นำหอมกินกับข้าว เพื่อขับลม
ข้อดีของสมุนไพร :ใช้เป็นยารักษาโรค
ข้อเสียของสมุนไพร :กลิ่นฉุน
ถิ่นที่อยู่คนโบราณนิยมปลูกไว้ในสวนหลังบ้าน หรือปลูกในกระถาง ปลูกได้ดีใน ดินร่วนปัจจุบันนี้บางบ้านยังปลูกไว้ใช้ประโยชน์บ้าง และที่สำคัญ คือ ปลูกเพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้รู้จัก
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable41

โหระพา
ชื่ออื่น ๆ : ห่อกวยซวย, โหระพาไทย, ห่อวอซุ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)ชื่อสามัญ : Common Basil, Sweet Basilชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum Linn.วงศ์ : LABIATAEลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงมีความสูง 8-28 นิ้ว ลักษณะของลำต้น และกิ่งก้านเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามีมาก ผิวเปลือกลำต้นมีเป็นสีเขียวอมม่วง และมีขนปกคลุมทั้งลำต้นมีกลิ่นหอม ใบ : ใบออกเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปรียาว ปลายและโคนใบเรียวแหลม ริมขอบใบเรียบ หรือมีหยักเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 ซม. ยาวประมาณ 2-6 ซม. ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 0.7-2 ซม.
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ชั้น ๆ คล้ายฉัตร ออกอยู่ตามบริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีสีขาวหรือสีแดงเรื่อ กลีบดอกยาวประมาณ 9 มม. ผล : พอดอกร่วงโรยก็จะติดผล เป็นสีน้ำตาล ผลหนึ่งมีเมล็ด .4 เม็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรี มีขนาดยาวประมาณ 2 มม.การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง นิยมปลูกทั่วไปในครัวเรือน ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดส่วนที่ใช้ : ลำต้น เมล็ด รากสรรพคุณ : ลำต้น ใช้ลำต้นสด ประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มเอาน้ำ กินเป็นยาแก้ปวด แก้หวัด ปวดกระเพาะอาหาร ท้องเสีย จุกเสียดแน่นท้อง ทำให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับลม ปวดศีรษะ ปวดข้อ หนองใน หรือใช้ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทา หรือใช้พอกแผลฟกช้ำจากการหกล้ม หรือถูกกระทบกระแทก แผลที่เป็นหนองเรื้อรัง แก้พิษถูกงูกัด แมลงสัตว์กัดต่อย เป้นกลากเกลื้อน และใช้หยอดหูแก้ปวดหู เป็นต้นเมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง นำมาต้มหรือแช่น้ำกิน เป็นยาระบาย หรือใช้แก้โรคตาแดงมีขี้ตามาก และต้อตา เป็นต้น ราก ใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้ละเอียดใช้พอก บริเวณที่เป็นแผลเรื้อรัง แผลมีหนองในเด็ก
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=hhor&func=hhor27

ไม่มีความคิดเห็น: