วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ล)

ลำไยชื่ออื่น ๆ : ลำไยป่า (ทั่วไป) เจ๊ะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)ชื่อสามัญ : -ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dimocarpus longan Lour.วงศ์ : SAPINDACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง จะแตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ลำต้นและกิ่งก้านมีสีน้ำตาลอมเทา ใบ : ออกใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก แต่ใบจะดกหนาทึบ ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี ลักษณะของใบเป็นรูปหอกปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย มีสีเขียวเข้ม ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ซึ่งดอกลำใยนี้จะมีขนาดเล็ก สีเหลือง หรือน้ำตาลอ่อน ๆ ผล : พอดอกร่วงโรยไปก็จะติดผลออกมา ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกกลม เปลือกสีน้ำตาล เนื้อในผลสีขาวใส และผลหนึ่งจะมีเมล็ดอยู่ 1 เม็ดมีสีดำ ผลทานได้มีรสหวานจะแก่จัดในราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เป็นพรรณไม้ที่มีผู้นิยมทานผลกันมาก และเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของทางภาคเหนือด้วยการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชื้นเล็กน้อย ไม่ชอบน้ำมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก เมล็ด ราก เปลือกผล เนื้อหุ้มเมล็ดสรรพคุณ : ใบ เป็นใบสด มีรสจืดและชุ่ม สุขุม เป็นยาแก้โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวาร ฝีหัวขาด และแก้ไข้หวัด โดยนำเอาต้มน้ำกิน ดอก ใช้ดอกสด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับหนองทั้งหลาย โดยใช้ใบสดประมาณ 5-30 กรัมต้มน้ำกิน เมล็ด ต้มหรือบดเป็นผงกินจะมีรสฝาด ใช้ภายนอกจะรักษากลากเกลื้อน แผลมีหนอง แก้ปวด สมานแผล ใช้ห้ามเลือด รากหรือเปลือกราก ต้มน้ำกินหรือเคี้ยวให้ข้นผสมกิน มีรสฝาด แก้สตรีตกขาวมากผิดปกติ ขับพยาธิเส้นด้าย เปลือกผล ใช้ที่แห้งนำมาต้มน้ำกิน แก้อาการวิงเวียนศีรษะและอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่น จะมีรสชุ่ม หรือใช้ทาภายนอก โดยเผาเป็นเถ้าหรือบดเป็นผงโรยแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เนื้อหุ้มเมล็ด นำมาต้มน้ำกินหรือแช่เหล้า เป็นยาบำรุงม้ามเลือดลมและหัวใจ บำรุงร่างกาย สงบประสาท แก้อ่อนเพลียจากการทำงานหนัก ลืมง่าย นอนไม่หลับ ประสาทอ่อน หรือจะบดเป็นผงผสมกับยาเม็ดกินก็ได้ข้อห้ามใช้ : คนที่มีอาการเจ็บคอ หรือไอมีเสมหะ หรือเป็นแผลอักเสบจนมีหนอง ไม่ควรกินเนื้อของผลลำไยตำรับยา :
1. โรคมาลาเรีย ใช้ใบสดกับปอขี้ตุ่นแห้ง 10-20 กรัมและน้ำ 2 แก้วผสมเหล้าอีก 1 แก้วต้มให้เหลือน้ำเพียง 1 แก้วกินก่อนมีอาการไข้ 2 ชั่วโมง 2. แผลเน่าเปื่อยและคัน ใช้เมล็ดเผาเป็นเถ้าแล้วทาตรงบริเวณที่เป็น 3. ปัสสาวะขัด ใช้เมล็ดมาทุบให้แตกแล้วต้มน้ำกิน แต่จะต้องลอกเอาเปลือกสีดำของเมล็ดออกก่อน 4. กลากเกลื้อน ใช้เมล็ดชุบน้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าวถูทาตรงที่เป็น แต่ต้องลอกเอาเปลือกสีดำออกก่อน 5. แผลเรื้อรังและมีหนอง ใช้เมล็ดเผาเป็นเถ้า ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทา 6. หกล้มเลือดออกหรือมีดบาด ใช้เมล็ดบดเป็นผงพอก ห้ามเลือดและจะช่วยแก้ปวดด้วย แต่ต้องเอาเปลือกนอกสีดำออกก่อน 7. ขับปัสสาวะหรือแก้ปัสสาวะขุ่นขาว ใช้ดอกลำไยสดประมาณ 30 กรัม ต้มผสมกับเนื้อหมูกิน 3-5 ครั้ง 8. น้ำร้อนลวก ใช้เปลือกผลบดเป็นผงหรือเผาให้เป็นเถ้า ผสมกับน้ำมันลูกมะเยา ทาแผลก็จะหายปวดและไม่เป็นแผลเป็นด้วย 9. ท้องเสีย ใช้เนื้อของผล 14 ผลกับขิงสด 3 แว่นต้มกินน้ำ 10. สตรีทีคลอดบุตรแล้วมีอาการบวมตามตัว ให้ใช้เนื้อของผลกับลูกพุทราจีน และขิงสด ต้มกินน้ำ 11. เอาผลลำไยไปแช่เหล้า ไม่ว่าจะเป็นเหล้ายี่ห้ออะไรก็ได้ แช่ไว้ประมาณ 3 เดือน แล้วเอามาทานวันละแก้ว จะเป็นบำรุงหัวใจ และช่วยบำรุงให้ร่างกายแข็งแรงด้วยข้อมูลทางคลีนิค : ขับพยาธิเส้นด้าย จากคนไข้ 225 คนได้ผล 220 คนโดยการใช้รากสด 50 กก. ใส่น้ำ 125 ลิตร แล้วต้มให้นานประมาณ 8-10 ชั่วโมงจนเหลือน้ำเพียง 6 ลิตรแต่ต้องเอากากออก แบ่งกินครั้งละ 30 มล. วันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 วันสารเคมีที่พบ : ในดอก มีสารพวก fucosterol, stigmasterol อยู่ในอัตราส่วน 40 : 60 และมี sterols อื่นอีกในใบมี quercitrin, quercetin, 16-hentriacontanol, epifriedelinol, stigmasterol glucoside, stigmasterol, B-sitosterol เนื้อหุ้มเมล็ด มีโปรตีน 1.42% น้ำ 82.39% ไขมัน 0.45% เส้นใย 0.64% sucrose 2.35% reducing sugars 5.99% แต่ถ้าเป็นเนื้อหุ้มเมล็ดแห้งจะมีน้ำ 0.85% สารที่ไม่ละลายน้ำ 19.39% และสารที่ละลายน้ำได้ 79.77% เถ้า 3.36% นอกจากนี้ยังมีโปรตีน 5.6% และไขมัน 0.5% ผลสด มีพวก โปตัสเซียม 81-322 มก.% ฟอสฟอรัส 4.8-20.6% โซเดียม 0.1-10.3 มก.% แมกนีเซียม 4.2-19.1 มก.% แคลเซียม 0.35-41.6 มก.% เหล็ก 39-357 ไมโครกรัม% แมงกานีส 10-411 ไมโครกรัม% อลูมิเนียมน้อยกว่า 10-77 ไมโครกรัม% สังกะสี 15-133 ไมโครกรัม% และทองแดง 2-186 ไมโครกรัม% เมล็ด มีน้ำมันสีเหลืองออกส้ม ๆ 1.57% มีแป้งอีกจำนวนมาก และมี saponaretinหมายเหตุ : ลำต้นของลำไย มีเนื้อไม้แข็งปานกลาง สีแดงและจะขัดขึ้นมันได้ดี เรานำมาใช้ทำเป็นเสาหรือเสาให้พืชเกาะใช้เป็นฟืน และใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=432

ลิ้นจี่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Litchi chinensis Sonn..
วงศ์ : SAPINDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-12 เมตร แตกกิ่งก้าน เรือนยอดกลม
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบหนา รูปรีแกม ขอบขนานหรือรูปหอก ปลายใบแหลมรวบ ผิวใบมัน และใบดกหนาทึบ
ดอก ออกเป็นช่อ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
ผลรูปร่างกลมรี ผิวผลขรุขระ หรือเป็นหนามน้อย ๆ มีสีเขียว พอแก่จัดจะมีสีแดง และแดงคล้ำ เมื่อสุกงอม เนื้อในสีขาว หวานหอมหรือหวาน อมเปรี้ยว มีเมล็ดสีน้ำตาลแดง แข็งหนึ่งเม็ด
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นยา เนื้อผล เป็นยาบำรุง แก้ท้องเดิน เมล็ดบดให้เป็นผงใช้ 4-5 กรัม เป็นยา ฝาดสมาน ระงับความเจ็บปวดใน กระเพาะอาหาร
คุณค่าทาง โภชนาการ ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรด อินทรีย์บางชนิด
ใช้เป็นอาหาร ผลแก่จัด รับประทานเป็นผลไม้ ทำผลไม้กระป๋อง ดอง ลอยแก้ว ทำแยม และทำผลไม้
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=506

ไม่มีความคิดเห็น: