วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ส)
ส้มโอ
ชื่ออื่น ๆ : มะขุน, มะโอ (ภาคเหนือ), โกร้ยตะลอง (เขมร), ลีมาบาลี (มลายู-ยะลา), อิ่ว (จีน), สังอู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)ชื่อสามัญ : Pummelo, Shaddockชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus maxima Merr.วงศ์ : RUTACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ลำต้นมีสีน้ำตาล และมีหนามเล็ก ๆ อยู่ สูงประมาณ 8 เมตร ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปมนรี ปลายใบและโคนใบมนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบเป็นสีเขียวและมัน แต่ตรงก้านใบจะมีส่วนที่แผ่ออกเป็นปีกรูปคล้ายหัวใจ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-4 นิ้วยาว 4-6 นิ้ว ดอก : ออกเป็นช่อและดอกเดี่ยว แต่ส่วนมากมักจะเป็นดอกเดี่ยวอยู่ตามง่ามใบ ดอกมีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ กลางดอกมีเกสร 20-25 อัน ผล : เป็นลูกกลม ๆ โตและตรงหัวของผลจะนูนขึ้นมาเป็นกระจุก เมื่อยังอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่หรือสุกเป็นสีเหลือง เปลือกผลมีต่อมน้ำมันมาก ขนาดของผลยาวประมาณ 5-7 นิ้วเนื้อในสีชมพูและสีเหลืองอ่อนมีรสหวานหรือเปรี้ยว จะมีอยู่ราว ๆ 12-18 กลีบ เมล็ดมีจำนวนมากสีน้ำตาลออกเหลือง ๆการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ต้องการความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอน และเมล็ดแต่ส่วนมากจะใช้วิธีตอนมากกว่า เพราะโตเร็วกว่าใช้เมล็ดส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด รากสรรพคุณ : ใบ เป็นยาแก้ปวดข้อ ท้องอืดแน่น แก้ปวดหัว (ตำพอกที่ศีรษะ) ดอก แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระบังลม ขับเสมหะ ขับลม ผล แก้เมาสุรา ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์เบื่ออาหาร ปากไม่รู้รสอาหาร เปลือกผล เป็นยาขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้อึดอัด แน่นหน้าอก ไอ จุกแน่น ปวดท้องน้อย ไส้เลื่อน หรือต้มน้ำอาบแก้คัน ใช้ตำพอกฝี เมล็ด แก้ไส้เลื่อน แก้ปวดท้อง ลำไส้เล็กหดตัวผิดปกติ ราก แก้หวัด แก้ไอ แก้ปวด ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหาร ไส้เลื่อนข้อห้ามใช้ : สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินเปลือกส้มโอตำรับยา :
1. ปวดบวม ใช้ใบสดตำแล้วเอาไปย่างไฟให้อุ่น นำไปพอกตรงบริเวณที่เป็น 2. ไอมีเสมหะ ใช้ผลสดเอาเมล็ดออกเสีย แล้วแกะเป็นชิ้นเล็ก ๆ แช่กับน้ำเหล้าไว้ 1 คืน เสร็จแล้วนำไปต้มให้เละผสมกบน้ำผึ้ง กวนให้เข้ากันแล้วจิบกินบ่อย ๆ 3. อาหารไม่ย่อย ท้องอืดแน่น ใช้เปลือกผลแห้งและลูกเร่วแห้ง อย่างละ 10 กรัมกับกระเพาะอาหารไก่ 1 ใบ ผักคาวทองสด 15 กรัม และผงยีสต์แห้ง 1 ช้อนชาต้มกับน้ำกินสารเคมีที่พบ : ในดอกมีน้ำมันระเหย 0.2-0.25 % ในเมล็ดมี เถ้า 2.85 % โปรตีน 23.87 % สารที่ไม่มีในโตรเจน 11.51 % เส้นใย 3.09 % และ obacunone, obaculactone (limonin), deacetylnomilin เปลือกผลมี น้ำมันระเหย 0.3-0.9 % ซึ่งประกอบด้วย geraniol, linalool, citral, methylanthranilate เป็นส่วนใหญ่ ผลมีพวก แครอทีนอยด์ วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซีแคลเซียม เหล็ก น้ำตาล คลอไรด์ น้ำมันระเหย และยังมีพวก naringin, poncirin, naringenin-4-glucoside-7-neohesperidoside.neohesperidin
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=446

ไม่มีความคิดเห็น: