วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ผักสมุนไพร

(หมวด ก)

กระเจี๊ยบมอญ
ชื่อสมุนไพร : กระเจี๊ยบมอญ
ชื่อพื้นเมือง : กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้
กระต้าด ถั่วเละ กระเจี๊ยบขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esculentus Moench.
วงศ์ : MALVACEAE
รส : ผลอ่อน รสจืด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้พุ่มล้มลุกอายุประมาณ 1 ปี สูงประมาณ 40 ซม.–2 เมตร ลำต้นมีขนสั้นๆ มีหลายสีแตกต่างตามพันธุ์ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ใบมีลักษณะกว้างเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือรูปฝ่ามือ ใบเรียงสลับใบมีขนหยาบ ใบกว้าง8-25ซม.ยาว 10-30 ซม.ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองโคนดอกด้านในสีม่วงแดง เมื่อบานคล้ายดอกฝ้ายมี เกสรตัวผู้และตัวผู้เมียอยู่ในดอกเดียวกัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดผล เป็นฝักมีรูปกลมเรียวยาว ปลายฝักแหลมเป็นจีบมีขนรอบ มีทั้งชนิดฝักกลมรี เมล็ดอ่อนมีสีขาวเมื่อ แก่มีสีเทา ฝักอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกออกตามแนวรอยสันเหลี่ยมทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ข้างใน เมล็ดกลม ผลอ่อนสีขาวเมื่อแก่เป็นสีดำ
สรรพคุณทางยา : ผลแห้งป่นชงรับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะ ผล มีสารpectin และ mucilage ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ผลอ่อนแก้พยาธิตัวจี๊ด ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ผลอ่อน
การปรุงอาหาร : ผลอ่อน นำมาต้มรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริก ผลอ่อน ลวกนึ่งหรือเผาไฟ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำผลอ่อนมาแกงส้ม
วิธีใช้ : แก้พยาธิตัวจี๊ด โดยเอาผลกระเจี๊ยบมอญที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหารกิน เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริกหรือทำแกงส้ม แกงเลียง กินวันละ ๓ เวลาทุกวัน กินติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน วันละ ๔ - ๕ ผล แต่บางคนต้องกินเป็นเดือนจึงจะหายเวลาต้มต้องให้สุกจริงๆ ถ้าไม่สุกจะเหม็นเขียว กินแล้วจะเป็นอันตรายเกิดการเบื่อเมาได้ http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg1

ดอกกระเจียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cercuma alismatifolia Gagnepชื่อไทย : กระเจียว , ปทุมมา , บัวสวรรค์ ชื่อสามัญ : Siam Tulip , Patummaชื่อการค้า : Curcuma Sharome สกุลย่อย : Paracurcuma กลุ่ม : Patummaทรงต้น : คล้ายกล้วยถิ่นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยลักษณะทั่วไป : - ทรงพุ่มสูงประมาณ 55 เซนติเมตร กว้างประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลำต้นเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร
- ใบ กาบใบสีเขียวโคนสีแดง ก้านใบยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ใบเป็นรูปรีค่อนข้างแคบ กว้าง 7.5 เซนติเมตร ยาว 32 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบไม่มีขน บริเวณเส้นกลางใบอาจมีสีแดง ไม่มีเส้นลอย - ดอก ช่อดอกเกิดจากปลายลำต้นเทียม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียว บางครั้งอาจมีสีม่วงชมพูแต้มบ้าง ใบประดับไม่มีขน ขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร ใบประดับส่วนบนมีสีชมพูอมม่วง กว้าง 3.2 เซนติเมตร ยาว 5.5 เซนติเมตร จำนวนใบประดับส่วนบนจะแตกกันตามพันธุ์ และความสมบูรณ์ของต้น ดอกสีขาวปากสีม่วง ปากมีสันตามแนวยาว 2 สัน ด้านในของสันเป็นสีเหลือง กลีบสเตมิโนดมีสีขาวขนานกัน อับละอองเรณูป่องตลอดอัน
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด , การแยกเหง้า , การผ่าเหง้า , การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสภาพปลูกที่เหมาะสม : ดินร่วนระบายน้ำดี อินทรีย์วัตถุสูง แสงจัด ประโยชน์ : ไม้ตัดดอก ไม้ดอกกระถาง ไม้ดอกประดับแปลงจำนวนโครโมโซม ( 2n ) : 32เวลาพร้อมผสม : 07:30 - 10:00 นาฬิกา
ประโยชน์และสรรพคุณ : ดอกกระเจียวทานได้ ให้นำดอกอ่อนมาลวกจนสุกจิ้มกับน้ำพริก หรือจะกินดอกสดก็ได้ บางบ้านนิยมนำมาทำแกงส้ม หรือไม่ก็นำมาแกล้มกับขนมจีน ลาบ ก้อยดอกกระเจียวมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Flower&func=flower5

กระชาย

ชื่อสามัญ / ชื่ออังกฤษ Boesenbergia ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltro
วงศ์ Zinggiberaceae ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพ) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กระชายเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียวยาว อวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมส้ม กระชายมีอยู่สามชนิด คือ กระชายเหลือง กระชายดำ และกระชายแดง แต่คนนิยมให้กระชายเหลืองมากกว่าชนิดอื่น ใบกระชายเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว
ถิ่นกำเนิด อินเดีย – มาเลเซีย
สารสำคัญที่พบ รากและเหง้าของกระชายมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบไปด้วยสารไพนีน (Pinene) แคมฟีน (Camphene) เมอร์ซีน (Myrcene) ไลโมนีน (Limonene) บอร์นีออล (Borneol) และการบูร (Camphor) เป็นต้น สรรพคุณ กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ
วิธีใช้เพื่อเป็นยา / ประโยชน์อื่น 1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสในอัตราส่วน กระชายแก่ 4 หัว ต่อน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากันดีแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้นให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เมื่อหายแล้วกินต่ออีก 1-2 วัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น 2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน 3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วนที่เท่ากัน รับประทานก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 1 ถ้วยชา 4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำรากกระชายแก่ ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง บดให้เป็นผงเก็บไว้ละลายกับน้ำร้อนดื่มแก้อาการเป็นลม
5. ไล่แมลง ใช้รากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ผสมน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร เหง้าและราก วิธีใช้ในการประกอบอาหาร รากกระชายเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ขนมจีนน้ำยา และเป็นส่วนประกอบของขนมอีกหลายชนิดเพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา เช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า ฯลฯ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable18


กระโดน
ชื่อสมุนไพร : กระโดน ชื่อพื้นเมือง : กระโดนบก กระโดนโคก กะนอน ขุย แซงจิแหน่ เส่เจ๊อะบะ ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว ผ้าฮาด พุย หุกวาง ต้นจิก ผักกระโดน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Careya sphaerica Roxb. วงศ์ : BARRINGTONIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 8-20 เมตร มีกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ขนาดเล็กแน่นทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาหนา และแตกออก เป็นแผ่นๆ บางที่อาจถูกไฟป่าเผาทำให้เปลือกออกสีดำคล้ำ
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่เรียงเวียนกันตามปลายกิ่ง ขนาดใบกว้าง 12-15 ซม. ยาวประมาณ 12-20 ซม. ขอบใบหยิกออกแบบสลับ ก้านใบยาว 2-3 ซม.
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวช่อๆ ละ 2-3 ดอก กลีบดอกและกลีบรองดอกอย่างละ 4 กลีบ ดอกมีสีขาวหรือสีขาวนวลและเหลืองนวลร่วงง่าย กลีบดอกยาวประมาณ 1-5 นิ้วโคนกลีบดอกเชื่อมกัน เป็นรูประฆังเกสรตัวผู้ยาวเป็นปลายพู่สีแดงจำนวนมาก
ผล ผลโตกลมกว้างประมาณ 5 ซม. ยาว 6.5 ซม. มีสีเขียวภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปไข่
รส : เปลือกต้น รสฝาดเมา, ใบ รสฝาด, ดอก รสสุขุม,เมล็ดรสฝาดเมา, ผล รสจืดเย็น
สรรพคุณทางยา :
เปลือกต้น-รสฝาดเมา แก้พิษงู สมานแผล แก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดเมื่อย
ใบ -รสฝาด สมานแผล
ดอก -รสสุขุม บำรุงร่างกาย แก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงร่างกายสตรีหลังคลอด
เมล็ด -รสฝาดเมา แก้พิษ
ผล -รสจืดเย็น ช่วยย่อยอาหาร ต้มผสมกับเถายางน่อง และดินประสิว เคี่ยวให้งวด ตากแห้งใช้ปิดแผลมีพิษ ปิดหัวฝี
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน
การปรุงอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกหรือ แจ่ว ส้มตำ ลาบ ก้อยยอดอ่อนรับประทานกับยำมดแดง
วิธีใช้ : ดอกและยอดกินเป็นผักได้ ดอกและน้ำจากเปลือกสดใช้ผสมกับน้ำผึ้งจิบแล้วชุ่มคอ แก้ไอและแก้หวัด เป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตร ผลกินได้ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาฝาดสมาน ผักกระโดนเป็นผักที่มีปริมาณสารออกซาเลท กรดออกซาลิค ในปริมาณค่อนข้างสูงถ้าได้รับสารโปรตีนในปริมาณต่ำอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผักกระโดน (สด) 100กรัม ประกอบด้วยปริมาณออกซาเลท 59 มิลลิกรัมน้อยกว่าผักโขม 16 เท่าและน้อยกว่าผักชะพลู 12 เท่า
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg2


กระถิน
ชื่อสมุนไพร : กระถิน ชื่อพื้นเมือง : กระถินไทย กระถินบ้าน กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเบา สะตอเทศ สะตอเบา ผักก้านถิน ผักหนองบก กันเชด (เขมร) กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก กิถินน้อย กะตง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leucaena leucocephala de Wit. วงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
· ต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้นสูง 3-5 เมตร ลำต้นแก่สีน้ำตาล ขรุขระ และมักหลุดเป็นขุยออกมา
· ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาว 15-30 ซม. แตกออกเป็นช่อใบย่อย 3-10 คู่ ยาวประมาณ 10 ซม. ใบมีขนาดเล็กคล้ายใบมะขาม จำนวน 5-20 คู่ รูปขอบขนานปลายแหลมยาว 6-12 มม. กว้าง 1.5-5 มม.
· ดอก เป็นช่อขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ กลมฟูสีขาวมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
· ผล เป็นฝักแบนยาว 12-18 ซม. กว้างประมาณ 2 ซม. มีเมล็ด 15-30 เมล็ด สีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
รส : ยอดและใบอ่อนมีรสมัน เมล็ดอ่อนมีรสมันอมหวานเล็กน้อย มีกลิ่น ราก รสจืดเฝื่อน
สรรพคุณทางยา :
ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
เมล็ดใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ฝักอ่อน เมล็ดอ่อนการปรุงอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ฝักอ่อน-แก่ รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก (ชาวอีสาน) ใช้เมล็ดอ่อนผสมในส้มตำมะละกอหรือรับประทานกับส้มตำ (ชาวใต้) ใช้เมล็ดอ่อน ใบอ่อนรับประทานกับหอยนางรมวิธีใช้ : ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม ผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม เด็กใช้ 5-20 กรัม ต่อวัน รับประทานตอนท้องว่างในตอนเช้าเป็นเวลา 3-5
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg3

กระทือ
ชื่อสมุนไพร : กระทือชื่อพื้นเมือง : กระทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ เปลพ้อ เฮียวข่า เฮียวแดง ทือ หัวทือชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet Smith.วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นพืชล้มลุกจำพวกเดียวกับไพลหรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีสีขาวอมเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร
ใบ ใบออกซ้อนกันเป็นแผงๆ เรียงสลับกัน ใบเรียวยาวสีเขียวเข้ม
ดอก ดอกออกเป็นช่อโผล่พ้นขึ้นจากลำต้นใต้ดิน ช่อก้านดอกยาวช่อดอกเป็นปุ่ม ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดงซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวลแทรกอยู่ตามเกล็ด
รส : กระทือ เนื้อในมีรสขม และขื่นเล็กน้อย
สรรพคุณทางยา : แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดปนด้วย) บำรุงน้ำนม
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น ช่อดอกอ่อน
การปรุงอาหาร : หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น ช่อดอกอ่อน นำมาแกงเผ็ด แกงไตปลา ต้มจิ้มน้ำพริก ผัด ยำ
วิธีใช้ : หัวกะทือเป็นยารักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียดและปวดท้องโดยใช้หัวหรือเหง้าสดขนาด 20 กรัม ย่างไฟพบสุก เอามาโขลกกับน้ำปูนใสคั้นเอาน้ำมาดื่มที่มี อาการ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg4
(หมวด ข)
ขจร
ชื่อสมุนไพร : ขจรชื่อพื้นเมือง : สลิด ผักสลิดคาเลา สลิดป่า ผักสลิด กะจอน ขะจอน ผักขิกชื่อวิทยาศาสตร์ : Telosma minor Craib.วงศ์ : ASCLEPIADACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่หรือขึ้นตามร้านต้นไม้
ใบ ใบรูปร่างคล้ายหัวใจปลายเรียวแหลมยาว เหมือนใบต้นข้าวสาร ใบยาว 6-11 ซม. กว้าง 4-7.5 ซม. มีก้านใบยาว 1.2-2 ซม. ใบสีเขียวอมแดงเล็กน้อย
ดอก เป็นช่อกระจุกหรือเป็นพวงๆ คล้ายพวงอุบะ ดอกแข็งมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกตามซอกใบ ส่งกลิ่นหอมแรงกว่าดอกชำมะนาด หรือกลิ่นของใบเตยกลีบดอกสีเหลืองหรือเขียวอมเหลือง
ผล มีลักษณะกลมยาวคล้ายฝักนุ่นที่ยังเล็ก ผลแก่จะแตกออกได้ และมีเมล็ดใน ปลิวว่อนคล้ายนุ่นมีเมล็ดเกาะติดกับใยสีขาว
รส : ดอก ลูกอ่อน รสจืดหวานสรรพคุณทางยา : ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมาส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ยอดอ่อน ดอกตูมและบาน ผลอ่อนการปรุงอาหาร : ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อน รับประทานสดหรือลวกให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ดอกนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัด แกงจืด แกงส้มวิธีใช้ : ใช้รากผสมยาหยอดรักษาตา รับประทานทำให้อาเจียนถอนพิษเบื่อเมา ทำให้รู้รสอาหาร ดับพิษ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg5

ขนุน
ชื่อสมุนไพร : ขนุนชื่อพื้นเมือง : ขะหนุน หมักมี้ ขะนู นากอ โนน บักมี่ ขนุร ขะเนอ เนน ซีคึย ปะหน่อย นะยวยซะ มะหนุน ล้าง หมาด ยะนู หมากกลางชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lamk.วงศ์ : MORACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร มียางขาวทั้งต้นไม้เนื้ออ่อนแก่นสีเหลือง
ใบ ใบรูปร่างกลมรี เหนียวและหนา ปลายใบแหลมยาว 7-15 ซม. ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ใบด้านบนสีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างสาก
ดอก เป็นช่อออกเป็นกลุ่มช่อดอกตัวเมียและตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ออกที่โคลนกิ่ง/ลำต้น/ง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นแท่ง ยาวประมาณ 2.5 ซม. ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมออกจากลำต้น ก้านขนาดใหญ่ ดอกตัวผู้มีกลิ่นหอมคล้ายส่าเหล้า
ผล เป็นผลรวมผลกลมและยาวขนาดใหญ่ หนัก 10-60 กิโลกรัม ในหนึ่งผลใหญ่จะมีผลย่อยหลายผล (เรียกยวง) เมล็ดกลมรีเนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ถ้าสุกมีกลิ่นหอมเปลือกหุ้มเมล็ดบางรับประทานได้
รส : ยอดขนุน รสฝาดอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลอ่อน รสมันหวานสรรพคุณทางยา : สรรพคุณ ฝาดสมานรักษาอาการท้องเสียส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน ดอกตัวผู้อ่อน ซังการปรุงอาหาร : ดอกตัวผู้อ่อนรับประทานกับน้ำพริก ยอดอ่อนใบอ่อน รับประทานสดกับส้มตำ เมี่ยงและลวกร่วมกับน้ำพริก ยอดอ่อนและซังปรุงเป็นแกง ผลขนุนอ่อนต้มให้สุกรับประทานกับน้ำพริกปรุงเป็นซุป(ซุปขนุน) หรือแกงขนุน ผลอ่อน นำมาต้มเป็นผักจิ้มแล้ว ยังมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย ผลสุก จะมีกลิ่นหอม เนื้อในจะมีสีเหลืองนำมารับประทานได้หรือผสมกับน้ำหวานรับประทานเป็นขนม เนื้อในสีเหลืองลื่น รับประทานรักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก รับประทานมากจะเป็นยาระบายอ่อน ๆ ใบสด ใช้ต้มน้ำให้สัตว์กิน ช่วยขับน้ำนมวิธีใช้ : เมล็ด ให้ใช้ประมาณ 60-240 กรัม ต้มสุกกิน จะมีรสชุ่ม ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนม ช่วยบำรุงร่างกาย เนื้อหุ้มเมล็ด ให้ใช้สด ผสมกับน้ำหวานกินบำรุงกำลัง หรือจะกินเป็นขนมก็ได้ ใบ ใช้สด นำมาตำให้ละเอียด อุ่นแล้วพอกแผล ใบแห้งให้บดเป็นผงโรย หรือใช้ผสมทาตรงที่เป็นแผลใช้สำหรับภายนอก รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง ยาง จะมีรสจืด ฝาดเล็กน้อย ให้ใช้ยางสด ทาบริเวณที่บวมอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองเกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง แกนและราก ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทาน จะมีรสหวานชุ่ม รักษากามโรค และบำรุงเลือด
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg6

ขมิ้นขาว
ชื่อสมุนไพร : ขมิ้นขาวชื่อพื้นเมือง : ขมิ้นม่วงชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma mangga Val.&.Zijp.วงศ์ : ZINGIBERACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน ใบเหมือนกับขมิ้นแต่ลำต้นเตี้ยกว่าขมิ้น
ใบ ใบเดี่ยวรอบๆ ขอบใบด้านนอกจะมีสีขาวแต้มอยู่ทั่วไป
เหง้า เหง้าใต้ดินมีสีขาวมีกลิ่นหอม แต่มีกลิ่นและรสเผ็ดน้อยกว่าขิง
รส : ขมิ้นขาว รสเผ็ดสรรพคุณทางยา : ขับลมในลำไส้ขมิ้นขาว สรรพคุณ ขมิ้นมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า curcumin ป้องกันมะเร็งได้ น้ำต้มขมิ้นมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำดี ใช้รักษาอาการนิ่วในถุงน้ำดี และโรคกระเพาะอาหารได้ ขมิ้นสดยังช่วยขับลม แก้ท้องอืดอีกด้วย ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : เหง้าสดการปรุงอาหาร : เหง้าสด นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปยำ แกงวิธีใช้ : ขมิ้นขาวสด เมื่อทาน 100 กรัมให้วิตามินซีถึง 16 มิลลิกรัม ส่วนขมิ้นชันให้วิตามินซี 12 มิลลิกรัม เหง้า-รักษาแผลในลำไส้ เจริญอาหาร ขับลม ระงับเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการท้องขึ้น ทำให้ผายลมและรักษาไข้ผอมเหลือง
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg7

ข่า
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Galanga
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galanga SW.
วงศ์ Zingiberraceae
ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง / ข่าหยวก (เหนือ) / ข่าหลวงลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์ ข่าเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นกอ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีน้ำตาลอมแสด มีเส้นแบ่งข้อเป็นช่วงสั้นๆ เนื้อในเหง้ามีสีขาวรสขมเผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดเหมือนกับขิง มีกลิ่นหอมฉุน ข่าเป็นพืชใบเดี่ยว ใบยาวปลายใบมนขอบใบเรียบ ก้านใบยาวเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ดอกเป็นช่อสีขาวนวล ผลกลมสีแดงส้ม มีรสเผ็ดร้อน ข่าเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน มีถิ่นกำเนินอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียเขตร้อน ปัจจุบันข่าใช้เป็นเครื่องเทศในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียมากกว่าที่อื่น ประเทสไทยมีการปลูกข่าทั่วไป เพราะข่าถือเป็นผักสวนครัวอย่างหนึ่ง สารสำคัญที่พบ เหง้าสดมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ซึ่งประกอบด้วยสารเมททิล-ซินนาเมต (Methyl-cinnamate) ซีนิออล (Cineol) การบูร (Camphor) และยูจีนอล (Eugenol) สรรพคุณ 1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน 2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น 3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม 4. ใช้ไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง 5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร เหง้าและลำต้นอ่อน ดอก วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ข่าเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable23


ขิง
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber offcinale Vern. Adrak วงศ์ Zingiberaceae ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงแครง ขิงเขา ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง (จันทบุรี)
ขิงเผือก (เชียงใหม่) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ขิงเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินซึ่งมีลักษณะคล้ายมือหรือที่เรียกว่า "เหง้า" เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับข่า ขมิ้น กระวาน เร่ว ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆ ดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง สารสำคัญที่พบ กลิ่นหอมเฉพาะตัวของขิง เกิดจากน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ในเหง้า ซึ่งมีสารสำคัญคือ เซสควิเทอร์ฟีน ไฮโดรคาร์บอน (SesQuiterpene hydrocarbon) เซสควิเทอร์ฟีน แอลกอฮอล์ (SesQuiterpene alcohols) โมโนเทอร์ฟีนอยด์ (Monoterpenoids) เอสเตอร์ (Ester) ฟีนอล (Phenol) รสเผ็ดร้อนและกลิ่นฉุนเกิดจากน้ำมันชัน (Oleoresin) ในเหง้าเช่นเดียวกัน ส่วนประกอบอื่นๆ คือ แป้งและยางเมือก (Gum) นอกจากนี้ ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายอีก คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ ฯลฯ
สรรพคุณ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก วิธีใช้เป็นยารักษาโรค นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร 1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้า มาทุบพอแตกต้มกับน้ำ 2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด 3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ 4. รักษาอาการปวดประจำเดือน ในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแก่แห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่มบ่อยๆ
5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง 6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ เป็นหนอง
7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียด คั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณฟันที่ปวด ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร เหง้า หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น ช่อดอกอ่อน วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำ เป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม เป็นต้น นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น คุกกี้ พาย เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ เป็นต้น ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง (Ginger beer) ข้อสังเกต / ข้อควรระวัง 1. ขิงแก่มีสรรพคุณในทางยาและมีรสเผ็ดร้อนมากกว่าขิงอ่อน 2. ขิงแก่มีเส้นใยมากกว่าขิงอ่อน 3. ในเหง้าขิงมีเอนไซม์บางชนิดที่สามารถย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อยได้ 4. สารจำพวกฟีนอลิค (Phenolic compound) ในขิงสามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable17
(หมวด ค)
แคบ้าน
ชื่ออื่น ๆ : แคแดง ( เชียงใหม่ ) , แคบ้าน ( กลาง )ชื่อสามัญ : Cork Wood Tree, Vegetable Humming Bird Agatti , Sesban Sebania grandiflora ( Desv. ) Linn.วงศ์ : PAPILIONACEAEลักษณะทั่วไป ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งนั้นจะเปราะง่าย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบ : ใบจะเป็นใบประกอบใบย่อมนั้นมีขนาดเล็ก ในหนึ่งใบจะมีใบย่อมเป็นจำนวนมาก ดอก : ดอกจะออกเป็นกระจุกประมาณ 2-4 ดอก คล้ายดอกถั่วทั่วไป แต่ดอกจะใหญ่และมีสีขาว ฝัก : จะมีลักษณะกลมแบน ๆ ยาว มีขนาดเล็กคล้ายถั่วฝักยาวแต่สีขาวกว่า เมื่อแก่จะแตกได้การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ดส่วนที่ใช้ : ดอก ยอดอ่อน เปลือกต้น และรากสรรพคุณ : ดอก จะมีแคลเซียมและเหล็กสูง มีโปรตีนประมาณ 1.22% และมีไวตามินบี ดอกแคใช้เป็นอาหารเหมือน ผักทั่ว ๆ ไปได้ ยอดอ่อน ใช้รักษาไข้หัวลม เปลือกต้น จะมีรสฝาด เพราะมีสารแทนนิน นอกจากนั้นยังพบสาร triterpenoid saponin และ amino Acid ที่มีชื่อว่า canavanine เปลือกต้นใช้รักษาอาการท้องเดิน แต่ถ้ากินมาก ๆ จะทำให้อาเจียนได้ ราก น้ำ จากนำมาผสมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาขับเสมหะอื่น ๆ : เป็นพรรณไม้ที่โตเร็ว มักจะพบทั่วๆ ไปในเขตร้อน
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Flower&func=flower15
(หมวด ต)
ตะไคร้ชื่ออื่น ๆ : คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), จะไคร(เหนือ), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ไคร(ใต้)ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapineชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citrates (DC. Ex Nees) Stapf.วงศ์ : GRAMINAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก จะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้องมักมีไขปกคลุมอยู่ เป็นพรรณไม้ที่มีอายุหลายปี ใบ : ใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียวกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-3 ฟุต ดอก : ออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับการขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกกอ หรือหัวออกมาปลูกเป็นต้นใหม่ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น หัว ใบ ราก และต้นสรรพคุณ :
ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วยถิ่นที่อยู่ : เป็นพืชในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนขอบทวีปเอเชีย และแอฟริกา ส่วนในประเทศไทย นั้นปลูกเป็นพืชสวนครัวมากกว่าตำรับยา : มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือ ทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่ม หรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วัน ๆ ละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหายข้อมูลทางคลีนิค :
1. ภายในน้ำมันหอมระเหยนั้นจะมีสารเคมีพวก citral, citronella และ geraneol ซึ่งจะมีฤทธิ์สามารถยับยั้ง 2. เมื่อเอากระดาษที่ใช้ห่ออาหารทาด้วยอิมัลชั่นของน้ำมันตะไคร้ ซึ่งค้นพบได้ว่า สามารถป้องกันสุนัข และแมวได้ดีอยู่ได้นาน 7-10 วัน 3. น้ำมันหอมระเหยนี้จะมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรคพืชหลาย ชนิดในหลอดทดลองข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ใบและต้นแห้งนั้นจะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ส่วนปลายของสัตว์ที่ตัดแยกจากลำตัว เช่น กระต่าย ส่วนรากแห้งจะนำมาสกัดด้วยน้ำร้อนขนาด 2.5 ก./ก.ก. ซึ่งผลออก มาแล้วจะไม่มีผลในการลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายเลย และถ้านำทั้งต้นมาสกัดจาก แอลกอฮอล์อยู่ 95% จะมีฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือน โดยทำให้เกิดเป็นอัมพาตภายใน 24ชม. แต่พยาธินั้นจะไม่ตายเลยสารเคมีที่พบ : ในใบมีสารพวก Citral, Methylheptenone, Eugenol, Iso-orientin, Methylheptenol, Furfural, Luteolin, Phenolic substance, Cymbopogonol, Cymbopogone, Citral A, Citral B, Essential oil, Waxes, Nerol, Myrcene, l-Menthol, Linalool, Geraniol, Dipentene, d-Citronellic acid, Cymbopol, 1,4-Cineolieอื่น ๆ : น้ำมันระเหยภายในต้นนั้น จะมีปริมาณสูงขึ้นเมื่อดินมีความชื้นสูง และพบว่าการคลุมดินกันน้ำระเหยจะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยสูงเช่นกัน ซึ่งการใส่ปุ๋ยนั้นมีผลน้อยกว่า และถ้าใส่ปุ๋ยสูงเกินไปกลับจะทำให้ citral ลดลงและอุณหภูมิก็มีส่วนเช่นกัน ถ้าอุณหภูมิต่ำปริมาณน้ำมันก็ลด
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=ttor&func=ttor5

ตำลึง

ตำลึง เป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงจะใหญ่ และแข็ง เถาตำลึงจะมีใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ใยรูปร่างคล้าย 5 เหลี่ยม ขอบใบเว้าเข้าเล็กน้อย บางครั้งจะเว้ามาก ใบสีเขียวเรียบไม่มีขน ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกจากบริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น ดอกมีกลีบสีเขียว ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โคนตัดกันเป็นกรวย กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้มี 3 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน ผลรูปร่างกลมรี คล้ายแตงแต่เล็กกว่า ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีแดง
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผักตามฤดูกาล ยอดอ่อน และผลอ่อนของตำลึงเป็นผัก มีตลอดปี และมีมากในช่วงฤดูฝน การปรุงอาหารนั้น ยอดอ่อนและใบอ่อนของตำลึง ไปลวก และนึ่งเป็นผักจิ้ม กับน้ำพริก และนำไปปรุงเป็นอาหาร เป็นแกงเลียง แกงจืด ผัด บางท้องถิ่นชาวบ้านนำเอผลอ่อนของตำลึง ไปดอง และนำไปรับประทานกับน้ำพริก หรือปรุงเป็นแกงได้ ยอดอ่อนของตำลึงเป็นผักที่คนไทยนิยมรับประทาน มีจำหน่ายในตลาดสด ทุกๆ ภาคของเมืองไทย ใบและเถาของตำลึงมีรสเย็น เป็นผักที่เหมาะในการรับประทานในฤดูร้อน จะช่วยผ่อนคลายความร้อนได้
ประโยชน์ทางยา
ใบ รสเย็น สรรพคุณดับพิษร้อน ถอนพิษ แก้แสบคัน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะราก รสเย็น สรรพคุณดับพิษ รักษาโรคตาเถา สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง ลดน้ำตาลในเลือด

http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=210&mode=thread&order=0&thold=0
(หมวด ผ)
ผักชีชื่ออื่น ๆ : ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผักหอมป้อม, ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), พังไฉ่ (จีน-แต้จิ๋ว), ผักหอม (นครพนม), ผักชีลาชื่อสามัญ : Corianderชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum Linn.วงศ์ : UMBELLIFERAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกสีเขียวอมน้ำตาล ใบ : ลักษณะการออกใบจะเรียงใบคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด ดอก : ออกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อน ๆ ผล : จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มก. สีน้ำตาล ตรงปลายผลแยกออกเป็น 2 แฉก ตามผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้นการขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น และผล สรรพคุณ : ทั้งต้น ช่วยเป็นยาละลายเสมหะ แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการนำเอาต้นที่แห้งประมาณ 10-15 กรัม หรือเอาต้นสด ๆ 60-150 กรัมนำไปต้มกับน้ำ หรือคั้นเอาเฉพาะน้ำและดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง ผล ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้บิด ริดสีดวงทวาร โดยการนำเอาผลแห้งบดเป็นผงทานหรือต้มกับน้ำ แต่ถ้าใช้ภายนอกให้เอาไปต้ม นอกจากนี้ยังดับกลิ่นคาวและและเนื้อข้อห้ามใช้ : อย่าทานมากจนเกินไป เพราะจะทำให้กลิ่นตัวแรง และตาลาย ลืมง่ายตำรับยา :
1. โรคริดสีดวงทวาร ให้นำผลไปคั่วแล้วบดทานผสมกับเหล้า วันละ 3-5 ครั้ง 2. บิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ผล 1 ถ้วยชาตำให้เป็นผง ผสมน้ำตาลทรายทาน 3. ปวดท้อง หรือท้องอืดท้องเฟ้อ ให้ใช้ผลสัก 2 ช้อนชาต้มผสมกับน้ำทาน 4. เป็นหัดหรือผื่นแดงที่ยังออกไม่ทั่วตัว ซึ่งผลนี้จะช่วยขับออกมา โดยใช้ผลแห้ง120 กรัมใส่หม้อดินเผา หรือหม้อเคลือบมีน้ำเต็ม ต้มให้เดือดแล้วน้ำเอาไอรมให้ทั่วห้อง แล้วผื่นก็จะออกมาเอง 5. เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง (Erysipelas) ให้ใช้ผักชีตำพอก 6. ปากเจ็บ คอเจ็บ ปวดฟัน นำเอาเมล็ดมาต้มกับน้ำประมาณ 5 ส่วนแล้วต้มให้เหลือ 1 ส่วนเอาน้ำอมบ้วนปากข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ผลที่แก่จะเป็นเครื่องเทศ กลิ่นหอมใช้ผสมกับยาอื่น จะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อที่จะให้ขับสารออกมามากขึ้น หรือน้ำดีมากขึ้น และในน้ำมันระเหยจะมีสารที่มีผลต่ออาการเจริญเติบโตของเชื้อโรค โดยการจะยับยั้งการขยายพันธุ์สารเคมีที่พบ : ภายในผลจะมีน้ำมันระเหย 1-1.4% ไขมัน 26% และในน้ำมันนี้จะประกอบด้วยสารพวก เทอปีน (terpenes) อยู่หลายชนิด และพวกเจอรานิออล (geranilo) พวกแอลกอฮอล์การบูร (camphor) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีน้ำตาลอ้อย (sucrose) น้ำตาลผลไม้ (fructose) น้ำกลูโคสทั้งต้น มีสารพวก ลินาโลออล (linalool โนนานาล (nonanal) ดีคาลนาล (decanal) และวิตามินซี 92-98 มก.%ในเมล็ด จะมีสารประกอบพวกไนโตรเจน 13-15% และสารอนินทรีย์ 7% มีน้ำมันระเหย 1% ซึ่งมีสารส่วนใหญ่ในน้ำมันระเหยนั้นเป็น d-linalool ประมาณ 70% นอกนั้นมี
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=phor&func=phor17
(หมวด พ)
พริกขี้หนูชื่ออื่น ๆ : พริกแด้, พริกแต้, พริกนก, พริกแจว, พริกน้ำเมี่ยง (เหนือ-พายัพ), พริก, พริกชี้ฟ้า,พริกขี้หนู (ภาคกลาง-เหนือ), ดีปลี (ใต้-ปัตตานี), ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก, ใต้ (ภาคใต้), ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว), มะระตี้ (สุรินทร์), ล่าเจียว (จีนกลาง), หมักเพ็ด (อีสาน)ชื่อสามัญ : Bird Chilliชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens Linn.วงศ์ : SOLANACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผล : ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ดการขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ดส่วนที่ใช้ : ผล ใช้เป็นยาสรรพคุณ : ผล ใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลาย แอลกอฮอล์ใช้ทาอื่น ๆ : พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อย ทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อน เป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อนข้อมูลทางคลีนิค :
1. รักษาอาการบวม ฟกช้ำ ให้ใช้พริกขี้หนูที่แก่จัดเป็นสีแดง แล้วตากแห้ง นำมาบดเป็นผงให้ละเอียด แล้วเทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลว กวนให้เข้ากัน แล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถู รักษาอาการเคล็ด ถูกชน ฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อ ให้ทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้ง หรือสองวันต่อครั้ง 2. รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ให้ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลิน หรือผลพริก วาสลิน และแป้งหมี เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอประมาณ แล้วคนให้เป็นครีม ก่อนที่จะใช้ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ จะมีอาการทำให้เหงื่อออก การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และรู้สึกหายปวด จากการตรวจสอบพบว่า ตามบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อน และการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มขึ้นข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
1. สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทำให้ระคายเคืองได้ 2. ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และเชื้อBacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง 3. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน ทำให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหว ของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ำสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา แต่ถ้าให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย 4. ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคปซายซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภา แต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัข จะทำให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด และอาการพวกนี้จะหายไป เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มความดันโลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของแมวที่ถูกวางยาสลบ จะทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัว และฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจ ห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น 5. ฤทธิ์อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทำให้สารกลุ่มคอรืติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้เดินเซ เล็กน้อย และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=phorp&func=phorp12

พริกไทยชื่ออื่น ๆ : พริกน้อย (ภาคเหนือ), โฮ่วเจีย (จีน)ชื่อสามัญ : Pepper, Black Pepperชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum Linn.วงศ์ : PIPERACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย เป็นสีเขียวตลอดปี ลำต้นมีความสูงประมาณ 5 เมตร เถานั้นจะเกาะพันกับไม้ค้าง หรือพืชชนิดอื่น ๆ เถาจะมีข้อพองเห็นได้ชัด ต้นตัวผู้และต้นตัวเมียจะอยู่ต่างต้นกัน ใบ : จะออกสลับกัน ลักษณะของใบจะรีใหญ่มีความยาวประมาณ 8-16 ซม. และกว้างประมาณ 4-7 ซม. ตรงปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ท้องใบจะเป็นสีเขียวออกเทา และมีเส้นใบนูน ส่วนหลังใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ดอก : จะออกเป็นช่อจากข้อ ช่อดอกนั้นเป็นสีขาวมีความยาวประมาณ 10 ซม. ส่วนก้านดอกร่วมจะยาวพอ ๆ กับก้านใบ เมล็ด (ผล) : มีลักษณะกลม จะออกเป็นพวง เป็นช่อทรงกระบอกกลมยาว ช่อผลอ่อนนั้นจะเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จะเป็นสีเหลืองและสีแดง ภายในจะมีเมล็ดกลมเป็นสีขาวนวลการขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ดส่วนที่ใช้ : ผลและเมล็ด ใช้เป็นยาสรรพคุณ : ผลและเมล็ด ใช้แห้งประมาณ 0.6-1.5 กรัม นำไปต้มน้ำกิน หรือทำเป็นยาเม็ด หรือยาผงกิน และใช้สำหรับภายนอก โดยการบดเป็นผง ใช้ผสมหรือทำเป็นครีมทาหรือพอก ผลและเมล็ดนั้นจะมีรสร้อน และฉุน ใช้เป็นยารักษาอาการปวดกระเพาะอาหาร โดยใช้ลูกพุทราจีนเอาเมล็ดออก แล้วใส่พริกไทยล่อน ใช้ด้ายพันให้ดี เพื่อไม่ให้เมล็ดพริกไทยออกมา นำไปนึ่งด้วยไอน้ำประมาณ 7 ครั้ง แล้วบดให้เป็นผง ปั้นเป็นเม็ดเท่าเม็ดถั่วเขียว ใช้กินกับน้ำอุ่น ครั้งละ 7 เม็ดกับน้ำอุ่น หลังจากที่กินยานี้แล้ว อาการปวดจะลดลง แต่กระเพาะอาหารจะร้อน และรู้สึกหิว รักษาโดยการกินข้าว หรือข้าวต้ม หลังจากที่กินยานี้รักษาอาการปวดตามบริเวณหัวใจ ปวดท้อง และอาเจียนเป็นน้ำ ให้ใช้พริกไทยดำ ดองกับเหล้า แล้วจิบกิน หรือจะต้มเป็นน้ำแกงกินมีลมในกระเพาะอาหาร มีอาการอาเจียนและเรอ อาจเป็นติดต่อกันหลายวัน ให้ใช้ผงพริกไทยล่อนประมาณ 1 กรัม ขิงสดประมาณ 30 กรัม นำไปปิ้งไฟอ่อน ๆ พอหอม นำไปต้มเอากากออก แล้วอุ่นกินวันละ 3 เวลามีอาการปวด จุกใต้หน้าอก ให้ใช้พริกไทยดำ ยูเฮียงที่แห้งผสมกัน แล้วบดเป็นผง ให้ใช้ขิงสด หรือโกฏเชียง แล้วต้มเอาน้ำผสมเหล้า และผงยาที่บดไว้ใช้กินเป็นแผลเนื่องจากถูกความเย็นจัด ใช้พริกไทย แช่ในเหล้าขาว นานประมาณ 7 วัน แล้วนำกากมาถูทาที่แผลท้องเสีย และอหิวาตกโรคในฤดูร้อน ใช้พริกไทยบดให้เป็นผง แล้วปั้นเป็นเม็ด เท่าเม็ดถั่วเขียว กินครั้งละ 40 เม็ด หลังอาหารตะขาบกัด โดยใช้พริกไทยบด ให้เป็นผงทาถุงอัณฑะอักเสบ เป็นผื่นคัน มีน้ำเหลือง ให้ใช้พริกไทยบดเป็นผง ผสมน้ำประมาณ 2 ลิตร แล้วต้มให้เดือด ใช้ชะล้างตามบริเวณแผล วันละประมาณ 2 ครั้ง กระเพาะอาหารผิดปกติ มี อาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ให้ใช้พริกไทย และปั้วแห่ แล้วล้างให้สะอาด ใช้อย่างละเท่า ๆ กัน บดให้เป็นผลผสมกับน้ำขิง ปั้นให้เป็นเม็ดใช้กินกับน้ำขิง ชักเนื่องจากร่างกายขาดแคลเซียม ให้ใช้พริกไทยล่อนและเปลือกไข่ไก่ นำไปผิงไฟให้เหลือง แล้วบดเป็นผง ผสมน้ำสุกกิน ปวดฟัน ให้ใช้พริกไทย พริกหาง บดเป็นผง แล้วผสมเป็นยาขี้ผึ้ง ปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วใช้อุดรูฟันที่ปวด อาการปวดจะลดลง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ใช้พริกไทย แช่ในน้ำส้มสายชูให้ดูดซับน้ำส้มให้มากที่สุด ตากให้แห้ง แล้วบดเป็นผง ผสมกับน้ำส้มสายชูที่แช่นั้น ปั้นเป็นเม็ด ใช้กินกับน้ำส้มสายชูที่เจือจาง รักษาอาการเมื่อยขบ เป็นเหน็บชาง่ายในฤดูหนาวหรือฤดูฝน โดยใช้ไข่ไก่กระเทาะด้านหนึ่งเทเนื้อในออก แล้วใช้เปลือกไข่นั้นตวงพริกไทย ให้เต็ม ผสมกับกะทิ เนื้อในไข่พริกไทย รวมกันบดให้ละเอียด อุ่นพอไข่สุกแล้วกินให้หมดขับลมและรักษาหวัด โดยใช้พริกไทยดำ หรือพริกไทยล่อน ใส่ต้มจืดกินตอนร้อน ๆอื่น ๆ : พริกไทยใช้เป็นเครื่องเทศ และยังใช้แต่งกลิ่นอาหารมานาน ทำให้อาหารมีรสชวนกิน แล้วพริกไทยยังมีส่วนช่วยถนอมอาหร ทำให้อาหารที่ใช้พริกไทยปรุงนั้น เก็บไว้ได้นานกว่าปรกติ พริกไทยมีกลิ่นหอมนั้น เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) อยู่ในพริกไทย นอกจากนี้แล้วในพริกไทยยังมีอัลกาลอยด์ Piperine อัลคาลอยด์ Piperine มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงกล่าวกันว่า Peperine จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงวันดีกว่า Pyrethrin แต่ไม่เป็นพิษต่อคนถิ่นทีอยู่ : พรรณไม้นี้มีปลูกกันทั่ว ๆ ไป ในประเทศที่มีอากาศร้อนเช่น ในบราซิล หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ไต้หวัน มาเลเซียและในบราซิล หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ไต้หวัน มาเลเซียและในประเทศไทยมีปลูกกันมากที่จังหวัดจันทบุรีข้อมูลทางคลีนิค :
1. รักษาโรคตับอักเสบ โดยนำไข่ไก่ 1 ฟอง มาเจาะรูแล้วใส่พริกไทยดำ ลงไปในรู ใช้ดินสอพองปิดรูที่เจาะนั้น แล้วห่อด้วยกระดาษชื้น ๆ นำไปนึ่งให้สุก แล้วกินติดต่อกันประมาณ 10 วัน คิดเป็น 1 รอบของการรักษา ให้หยุดยา 3 วัน แล้วจึงทำการรักษารองที่สองต่อไป ปรากฏว่าได้ผลดี 2. รักษาโรคหลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง และมีอาการหอบหืด 3. รักษาประสาทอ่อนเพลีย 4. รักษาโรคผิวหนัง 5. รักษาเด็กที่ท้องเสียจากระบบการย่อยอาหารไม่ดีข้อมูลทางเภสัชวิทยา : พริกไทยไม่มีผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ คนที่ทดลองจะรู้สึกแสบ เผ็ดลิ้น ร้อนไปทั้งตัวและศีรษะ พริกไทยจะมีสรรพคุณคล้ายกับพริก แต่ระคายเคืองน้อยกว่า นิยมใช้ในทางขับลม บำรุงกระเพาะอาหาร สำหรับใช้ภายนอกนั้น เป็นยาช่วยกระตุ้นและทำให้โลหิตมาเลี้ยงมากขึ้น ส่วนอัลคาลอยด์ของพริกไทยนั้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไข้และขับลม สารที่สกัดด้วยน้ำ อีเธอร์ และแอลกอฮอล์ จากพริกไทยพบว่า มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวตืด แต่มีผลต่อพยาธิเส้นด้าย และพยาธิใบไม้ไม่ปรากฏเด่นชัด ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากพริกไทยดำนั้น มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli สาร oleoresin จากพริกไทยดำมีความเข้มข้นประมาณ 0.1% มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Aspergillus versicolor
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=phorp&func=phorp13
(หมวด ม)
มะกรูด
ชื่ออื่น ๆ : ส้มกรูด, ส้มมั่วผี (ภาคใต้), มะหูด (หนองคาย), ส้มมะกรูด (ภาคกลาง)ชื่อสามัญ : Leech Lime, Kaffir Lime, Porcupine orangeชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.วงศ์ : RUTACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ผิวเปลือกต้นเรียบ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบ : ใบมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ ใบมีสีเขียวแก่ พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ไม่มีกลิ่นหอม ดอก : ดอกมีสีขาว คล้ายดอกมะนาว ดอกมีกลิ่นหอม ผล : ผลมีขนาดเท่ากับผลมะนาว ผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดการขยายพันธ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำ และความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยส่วนที่ใช้ : ใบ, ผล
สรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสด นำมาปรุงกับอาหารช่วยดับกลิ่นคาวผล ใช้ผลสด นำมาประกอบอาหาร หรือนำมาดองใช้เป็นยาฟอกเลือดในสตรี ขับลมในลำไส้ ขับระดู แก้ลมจุกเสียด แก้โรคลักปิดลักเปิด และใช้บำรุงประจำเดือน หรือใช้ผลสด นำมาผิงไฟให้เกรียมแล้ว ละลายให้เข้ากับน้ำผึ้ง ใช้ทาลิ้นให้เด็กที่เกิดใหม่ เป็นต้น
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=mor&func=mor1

มะแขว่น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston.วงศ์ : Rutaceaeชื่ออื่น : ลูกระมาศ หมากมาศ (กรุงเทพ) กำจัดต้น พริกหอม (ภาคกลาง) มะแขว่น หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 12-20 เมตร เปลือกสีขาว มีหนามแหลมรูปกรวยปลายตรงหรือโค้งเล็กน้อย ขึ้นตามลำต้น กิ่ง และก้านใบ ใบ เป็นใบประกอบเรียงสลับแบบขนนก ใบยาว 15-20 เซนติเมตร ใบย่อย 10-28 ใบ อาจมีใบย่อยที่ปลายหรือไม่มีก็ได้ ก้านใบย่อยสั้น 0.5-1.0 เซนติเมตร ขนาดใบกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร รูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ปลายใบเรียวแหลม ดอก เป็นช่อแบบ panicle ออกที่ปลายยอดหรือซอกก้านใบ ช่อดอกยาว 10-21 เซนติเมตร ก้านช่อยาว ดอกเล็กสีขาวอมเขียวเป็นกระจุกอยู่ตอนปลายช่อ ดอกตัวเมียและดอกตัวผู้อยู่คนละต้น กลีบรองดอก 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เรียงสลับกับเกสรตัวผู้ 4 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่เหนือเกสรตัวผู้ ภายในมี 1 ช่อง ผล รุปร่างกลมผลอ่อนสีเขียวเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.7 เซนติเมตร รสเผ็ดซ่ามาก เมื่อแก่เปลือกเป็นสีน้ำตาล และแตกอ้าเห็นเมล็ดสีดำเป็นมัน ออกดอก-ผล ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนแหล่งที่พบ : บ้านซำตะเคียน บ้านซำนกเหลือง ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้านอื่นๆ ใช้ใบเป็นอาหาร ผลแก่และเมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศผสมเครื่องแกงของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=234&mode=thread&order=0&thold=0


มะนาวชื่ออื่น ๆ : มะนอเกละ, ปะนอเกล, มะเน้าด์เล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ปะโหน่งกลยาน (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ส้มมะนาว (ทั่วไป), หมากฟ้า (เงี้ยง-แม่ฮ่องสอน), โกรยชะม้า (เขมร-สุรินทร์), ลีมานีปีห์ (มลายู-ภาคใต้)ชื่อสามัญ : Common lime, Limeชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.วงศ์ : RUTACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ยืนต้น ลำต้นมีความสูงประมาณ .5-3.5 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยง ส่วนกิ่งก้านอ่อนมีหนามยาวประมาณ 3-13มม. ใบ : ใบออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบกลมมีปีกแคบ ๆ ริมขอบใบหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-5.5 ซม. ยาวประมาณ 2.5-9 ซม. ดอก : ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ มีประมาณ 5-7 ดอก หรืออาจเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกมีสีขาว กลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปรียาว ปลายกลีบแหลม มีขนาดยาวประมาณ 7-12 มม. กว้างประมาณ 2.5-5 มม. ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียเล็ก ๆ อยู่ ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปกลม พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 นิ้ว ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ผลก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อในผลจะแยกออกเป็นซีก ภายในเนื้อก็จะมีเมล็ด ลักษณะกลมรี สีเหลืองอ่อน ผลหนึ่งก็จะมีหลายเม็ดการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ไม่ชอบที่แฉะ หรือที่ที่มีน้ำขัง มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เปลือกผล รากสรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสดประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินใช้ เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้เจริญอาหาร เป็นต้น ผล ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำกิน หรือกินสด เป็นยาแก้กระหาย แก้ร้อนใน บำรุงธาตุเจริญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟัน และถ่ายพยาธิ หรือใช้ผลดองเกลือ จนเป็นสีน้ำตาล ใช้เป็นยาขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ เป็นต้น เปลือกผล ใช้เปลือกผลแห้ง ประมาณ 10-15 กรัม ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร ขับลม เป็นต้น ราก ใช้รากสด ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทก หรือจากการหกล้มแก้ปวด และแก้พิษสุนัขบ้ากัด เป็นต้นตำรับยา :
1. แก้กระหายน้ำ คอแห้ง ไม่มีเสียง ให้ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาน้ำประมาณ 1 ถ้วยชา และ ผสมกับเกลือ น้ำตาลทราย ในปริมาณพอเหมาะ จากนั้นก็นำมาชงกับน้ำอุ่นหรือใช้ผสมกับน้ำแข็งรับประทาน 2. เมื่อถูกแมงป่องต่อย หรือตะขาบกัด ให้ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่ถูกกัด 3. คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ให้ใช้เปลือกผลสด นำมาขยี้ผิวสูดดม 4. ปวดฝี ให้ใช้รากสด นำมาฝนกับสุราแล้วใช้ทาข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ผลมะนาวเมื่อนำมาสกัด จะได้สาร naringin และ hesperidin ซึ่งสารนี้จะมีฤทธิ์ในการแก้อาการอักเสบของแผลต่าง
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=mor&func=mor16

มะระขี้นก

มะระขี้นก เป็นไม้เถา มีมือเกาะลำต้น เลื้อยพาดพันตามต้นไม้ หรือตามร้าน อายุเพียง 1 ปี ลำต้นมีสีเขียว ขนาดเล็กยาว ผิวมีขนขึ้นประปราย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบหยักเว้าลึกเข้าไปในตัวใบ 5-6 หยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน และมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย ใบกว้าง 4.5-11.5 เซนติเมตร ยาว 3.5-10 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลือง ออกบริเวณง่ามใบ ดอกแยกเพศกัน แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยงห่อหุ้มเอาไว้ กลีบดอกรูปขอบขนาน หรือรูปไข่ หรือพบทั้งสองแบ ผลมะระมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวขรุขระ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จัดจะเห็นเป็นสีส้ม หรือแดงอมส้ม ผลคล้ายมะระจีน แต่มีขนาดใหญ่กว่า เมล็ดรูปไข่ตลับ ทุกส่วนที่อยู่เหนือดิน ของพืชมีรสขม
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผักตามฤดูกาล ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักออกยอดในฤดูฝน การปรุงอาหาร คนไทยทุกภาครับประทานมะระเป็นผัก ไม่นิยมรับประทานสด เพราะมีรสขม โดยเฉพาะผล จะขมมาก วิธีปรุงอาหาร โดยการนึ่ง หรือลวกให้สุกก่อน และรับประทานเป็นผักจิ้ม ร่วมกับน้ำพริก หรือป่นปลาของชาวอีสาน หรืออาจนำไปผัด หรือแกงร่วมกับผักอื่นก็ได้ การนำผลมะระไปปรุงเป็นอาหารอื่น เช่น ผัดกับไข่ เป็นต้น นิยมต้มน้ำ และเทน้ำทิ้ง 1 ครั้ง ก่อน หรืออาจใช้วิธีคั้นกับน้ำเกลือ เพื่อลดรสขมก่อนก็ได้ รสชาติยอดอ่อน ใบ และผลอ่อน มีรสขมเย็น สรรพคุณเป็นยาเจริญอาหาร ระบาย แก้ไข้ บำรุงร่างกาย
ประโยชน์ทางยา
ในตำรายาไทย บันทึกว่า มะระเป็นยาเจริญอาหาร ระบาย แก้โรคลมเข้าข้อ หัวเข่าบวม เป็นยาบำรุงน้ำดี แก้โรคของม้าม โรคตับ เป็นยาขับพยาธิในท้อง ส่วนน้ำต้มของใบมะระ มีสรรพคุณระบายอ่อนๆ น้ำต้มของผลมะระ สรรพคุณแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู
ในต่างประเทศ มีการใช้มะระเป็นยาเช่นกัน ในประเทศฟิลิปปินส์ โปโตริโก และศรีลังกา มีการใช้มะระรักษาโรคเบาหวาน แพทย์จีนเชื่อว่า มะระมีพลังของความเย็น สรรพคุณขับพิษ ผลมะระช่วยฟอกเลือด บำรุงตับ มีผลดีต่อสายตา และผิวหนัง แม่บ้านชาวจีน มักจะปรุงอาหารด้วยมะระ ให้คนในครอบครัวรับประทาน ยามเป็นสิวที่ใบหน้า และร่างกาย
สำหรับประโยชน์ของมะระในการรักษาโรคเบาหวาน มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า มะระมีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือดในคน และสารที่ออกฤทธิ์ คือ Polypeptide-p สำหรับเมล็ดของมะระ มีผู้พบสารลดน้ำตาลเช่นกัน แต่การใช้เมล็ดมะระ ต้องระมัดระวังฤทธิ์ที่ก่อให้เกิด การแท้งด้วย
http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=212&mode=thread&order=0&thold=0

แมงลักชื่ออื่น ๆ : มังลัก (ภาคกลาง), กอมก้อขาว (ภาคเหนือ), ผักอีตู่ (เลย)ชื่อสามัญ : Labiatae, Hairy Basilชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum americana Linn.วงศ์ : LABIATAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต โคนลำต้นแข็ง ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบ : ใบออกเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบกลมรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวอ่อน มีขนนิ่ม กลิ่นใบหอม ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง หรือยอด ดอกมีลักษณะเป็นกลีบสีขาว ดอกจะคงทนและอยู่ได้นาน ผล : เมื่อกลีบดอกร่วง ก็จะเป็นผล ผลมีขนาดเล็ก สีน้ำตาลเข้ม ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เม็ดการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ทนต่อแสงแดดได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ดส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ เมล็ดสรรพคุณ :
ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ไอ ขับเหงื่อ ขับลม กระตุ้น และแก้โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น ใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง หรือใช้กากใบที่ตำทาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด เมล็ด ใช้เมล็ดแห้ง เมื่อนำมาแช่น้ำจะเกิดการพองตัวแล้วใช้กินเป็นยาระบาย ลดความอ้วน ช่วยดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด ขับเหงื่อ และช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระเป็นเมือกลื่นในลำไส้ เป็นต้น
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=mor&func=mor34