วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ฝ)
ฝรั่ง
ชื่ออื่น ๆ : มะก้วย (เชียงใหม่), มะมั่น (ลำปาง), มะก้วยกา, มะสีดา (ภาคเหนือ), มะก้วยเปา (ลำพูน), มะจีน, มะปุ่น (สุโขทัย-ตาก), มะกา (แม่ฮ่องสอน), สีดา (นครพนม), จุ่มโป่ (สุราษฎร์ธานี), มะแกว (แร่), ชมพู่ (ตานี), สีดาขาว (อุบล), ยะรัง (ละว้า-เชียงใหม่), ย่าหมู, ย่ามู (ภาคใต้), ยะมูบุเตบันเยา, มะปุ้ม, ชมพู่ (มลายู-นราธิวาส), ปั้กเกี๊ย (จีนแต้จิ๋ว)ชื่อสามัญ : Guavaชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava Linn.วงศ์ : MYRTACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ลักษณะผิวเปลือกของ ลำต้นเรียบเกลี้ยง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ : ลักษณะของใบเป็นใบหนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้วเห็นเส้นใบได้ชัด และมีขนขึ้นนวลบาง ขนาดของใบยาวประมาณ 2-5 นิ้ว กว้างประมาณ 1.5-3 นิ้ว ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ในช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 3-5 ดอก ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก มีสีขาวอมเขียวอ่อน ๆ กลีบเลี้ยงแข็งมีความคงทนมาก ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปต่างกัน ตามลักษณะของพันธุ์ และชนิดของมัน แต่ลักษณะของผิวเกลี้ยงเรียบ ผลเมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียวแก่ หรือเขียวอ่อน แต่เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น และข้างในผลหนึ่งมีเมล็ด เป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ แข็ง มีจำนวนมากการขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดิน ที่มีลักษณะเป็นดินปนทราย ขยายพันธ์ด้วยวิธี การเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่งส่วนที่ใช้ : ใบ ผล รากสรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสด ประมาณ 10-15 ใบ นำมาผิงไฟให้เกรียมแล้วต้ม หรือชงน้ำรับประทาน เป็นยาแก้โรคท้องเดิน โรคบิด แก้ปวดเบ่ง หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำใช้ล้างบาดแผล หรือใช้กากพอกบริเวณแผลช่วยถอนพิษบาดแผล หรือใช้ใบที่สด ประมาณ 6-7 ใบ นำมาเคี้ยวอม หรือนำมาใส่ในตู้เย็น ช่วยระงับกลิ่นเหม็น ผล ใช้ผลอ่อน ประมาณ 1 ผล นำมาฝนกับน้ำปูนใสใช้รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องเดิน ราก ใช้รากนำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยดูดน้ำเหลือง น้ำหนอง ทำให้แห้ง
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=313

ไม่มีความคิดเห็น: