วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ผักสมุนไพร

(หมวด ก)

กระเจี๊ยบมอญ
ชื่อสมุนไพร : กระเจี๊ยบมอญ
ชื่อพื้นเมือง : กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้
กระต้าด ถั่วเละ กระเจี๊ยบขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esculentus Moench.
วงศ์ : MALVACEAE
รส : ผลอ่อน รสจืด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้พุ่มล้มลุกอายุประมาณ 1 ปี สูงประมาณ 40 ซม.–2 เมตร ลำต้นมีขนสั้นๆ มีหลายสีแตกต่างตามพันธุ์ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ใบมีลักษณะกว้างเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือรูปฝ่ามือ ใบเรียงสลับใบมีขนหยาบ ใบกว้าง8-25ซม.ยาว 10-30 ซม.ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองโคนดอกด้านในสีม่วงแดง เมื่อบานคล้ายดอกฝ้ายมี เกสรตัวผู้และตัวผู้เมียอยู่ในดอกเดียวกัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดผล เป็นฝักมีรูปกลมเรียวยาว ปลายฝักแหลมเป็นจีบมีขนรอบ มีทั้งชนิดฝักกลมรี เมล็ดอ่อนมีสีขาวเมื่อ แก่มีสีเทา ฝักอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะแตกออกตามแนวรอยสันเหลี่ยมทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ข้างใน เมล็ดกลม ผลอ่อนสีขาวเมื่อแก่เป็นสีดำ
สรรพคุณทางยา : ผลแห้งป่นชงรับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะ ผล มีสารpectin และ mucilage ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ผลอ่อนแก้พยาธิตัวจี๊ด ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ผลอ่อน
การปรุงอาหาร : ผลอ่อน นำมาต้มรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริก ผลอ่อน ลวกนึ่งหรือเผาไฟ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำผลอ่อนมาแกงส้ม
วิธีใช้ : แก้พยาธิตัวจี๊ด โดยเอาผลกระเจี๊ยบมอญที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหารกิน เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริกหรือทำแกงส้ม แกงเลียง กินวันละ ๓ เวลาทุกวัน กินติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕ วัน วันละ ๔ - ๕ ผล แต่บางคนต้องกินเป็นเดือนจึงจะหายเวลาต้มต้องให้สุกจริงๆ ถ้าไม่สุกจะเหม็นเขียว กินแล้วจะเป็นอันตรายเกิดการเบื่อเมาได้ http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg1

ดอกกระเจียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cercuma alismatifolia Gagnepชื่อไทย : กระเจียว , ปทุมมา , บัวสวรรค์ ชื่อสามัญ : Siam Tulip , Patummaชื่อการค้า : Curcuma Sharome สกุลย่อย : Paracurcuma กลุ่ม : Patummaทรงต้น : คล้ายกล้วยถิ่นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยลักษณะทั่วไป : - ทรงพุ่มสูงประมาณ 55 เซนติเมตร กว้างประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลำต้นเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร
- ใบ กาบใบสีเขียวโคนสีแดง ก้านใบยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ใบเป็นรูปรีค่อนข้างแคบ กว้าง 7.5 เซนติเมตร ยาว 32 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบไม่มีขน บริเวณเส้นกลางใบอาจมีสีแดง ไม่มีเส้นลอย - ดอก ช่อดอกเกิดจากปลายลำต้นเทียม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียว บางครั้งอาจมีสีม่วงชมพูแต้มบ้าง ใบประดับไม่มีขน ขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร ใบประดับส่วนบนมีสีชมพูอมม่วง กว้าง 3.2 เซนติเมตร ยาว 5.5 เซนติเมตร จำนวนใบประดับส่วนบนจะแตกกันตามพันธุ์ และความสมบูรณ์ของต้น ดอกสีขาวปากสีม่วง ปากมีสันตามแนวยาว 2 สัน ด้านในของสันเป็นสีเหลือง กลีบสเตมิโนดมีสีขาวขนานกัน อับละอองเรณูป่องตลอดอัน
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด , การแยกเหง้า , การผ่าเหง้า , การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสภาพปลูกที่เหมาะสม : ดินร่วนระบายน้ำดี อินทรีย์วัตถุสูง แสงจัด ประโยชน์ : ไม้ตัดดอก ไม้ดอกกระถาง ไม้ดอกประดับแปลงจำนวนโครโมโซม ( 2n ) : 32เวลาพร้อมผสม : 07:30 - 10:00 นาฬิกา
ประโยชน์และสรรพคุณ : ดอกกระเจียวทานได้ ให้นำดอกอ่อนมาลวกจนสุกจิ้มกับน้ำพริก หรือจะกินดอกสดก็ได้ บางบ้านนิยมนำมาทำแกงส้ม หรือไม่ก็นำมาแกล้มกับขนมจีน ลาบ ก้อยดอกกระเจียวมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Flower&func=flower5

กระชาย

ชื่อสามัญ / ชื่ออังกฤษ Boesenbergia ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltro
วงศ์ Zinggiberaceae ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพ) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กระชายเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียวยาว อวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมส้ม กระชายมีอยู่สามชนิด คือ กระชายเหลือง กระชายดำ และกระชายแดง แต่คนนิยมให้กระชายเหลืองมากกว่าชนิดอื่น ใบกระชายเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว
ถิ่นกำเนิด อินเดีย – มาเลเซีย
สารสำคัญที่พบ รากและเหง้าของกระชายมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบไปด้วยสารไพนีน (Pinene) แคมฟีน (Camphene) เมอร์ซีน (Myrcene) ไลโมนีน (Limonene) บอร์นีออล (Borneol) และการบูร (Camphor) เป็นต้น สรรพคุณ กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ
วิธีใช้เพื่อเป็นยา / ประโยชน์อื่น 1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสในอัตราส่วน กระชายแก่ 4 หัว ต่อน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากันดีแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้นให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เมื่อหายแล้วกินต่ออีก 1-2 วัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น 2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน 3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วนที่เท่ากัน รับประทานก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 1 ถ้วยชา 4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำรากกระชายแก่ ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง บดให้เป็นผงเก็บไว้ละลายกับน้ำร้อนดื่มแก้อาการเป็นลม
5. ไล่แมลง ใช้รากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ผสมน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร เหง้าและราก วิธีใช้ในการประกอบอาหาร รากกระชายเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ขนมจีนน้ำยา และเป็นส่วนประกอบของขนมอีกหลายชนิดเพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา เช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า ฯลฯ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable18


กระโดน
ชื่อสมุนไพร : กระโดน ชื่อพื้นเมือง : กระโดนบก กระโดนโคก กะนอน ขุย แซงจิแหน่ เส่เจ๊อะบะ ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว ผ้าฮาด พุย หุกวาง ต้นจิก ผักกระโดน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Careya sphaerica Roxb. วงศ์ : BARRINGTONIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 8-20 เมตร มีกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ขนาดเล็กแน่นทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาหนา และแตกออก เป็นแผ่นๆ บางที่อาจถูกไฟป่าเผาทำให้เปลือกออกสีดำคล้ำ
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่เรียงเวียนกันตามปลายกิ่ง ขนาดใบกว้าง 12-15 ซม. ยาวประมาณ 12-20 ซม. ขอบใบหยิกออกแบบสลับ ก้านใบยาว 2-3 ซม.
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวช่อๆ ละ 2-3 ดอก กลีบดอกและกลีบรองดอกอย่างละ 4 กลีบ ดอกมีสีขาวหรือสีขาวนวลและเหลืองนวลร่วงง่าย กลีบดอกยาวประมาณ 1-5 นิ้วโคนกลีบดอกเชื่อมกัน เป็นรูประฆังเกสรตัวผู้ยาวเป็นปลายพู่สีแดงจำนวนมาก
ผล ผลโตกลมกว้างประมาณ 5 ซม. ยาว 6.5 ซม. มีสีเขียวภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปไข่
รส : เปลือกต้น รสฝาดเมา, ใบ รสฝาด, ดอก รสสุขุม,เมล็ดรสฝาดเมา, ผล รสจืดเย็น
สรรพคุณทางยา :
เปลือกต้น-รสฝาดเมา แก้พิษงู สมานแผล แก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดเมื่อย
ใบ -รสฝาด สมานแผล
ดอก -รสสุขุม บำรุงร่างกาย แก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงร่างกายสตรีหลังคลอด
เมล็ด -รสฝาดเมา แก้พิษ
ผล -รสจืดเย็น ช่วยย่อยอาหาร ต้มผสมกับเถายางน่อง และดินประสิว เคี่ยวให้งวด ตากแห้งใช้ปิดแผลมีพิษ ปิดหัวฝี
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน
การปรุงอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกหรือ แจ่ว ส้มตำ ลาบ ก้อยยอดอ่อนรับประทานกับยำมดแดง
วิธีใช้ : ดอกและยอดกินเป็นผักได้ ดอกและน้ำจากเปลือกสดใช้ผสมกับน้ำผึ้งจิบแล้วชุ่มคอ แก้ไอและแก้หวัด เป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตร ผลกินได้ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาฝาดสมาน ผักกระโดนเป็นผักที่มีปริมาณสารออกซาเลท กรดออกซาลิค ในปริมาณค่อนข้างสูงถ้าได้รับสารโปรตีนในปริมาณต่ำอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผักกระโดน (สด) 100กรัม ประกอบด้วยปริมาณออกซาเลท 59 มิลลิกรัมน้อยกว่าผักโขม 16 เท่าและน้อยกว่าผักชะพลู 12 เท่า
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg2


กระถิน
ชื่อสมุนไพร : กระถิน ชื่อพื้นเมือง : กระถินไทย กระถินบ้าน กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเบา สะตอเทศ สะตอเบา ผักก้านถิน ผักหนองบก กันเชด (เขมร) กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก กิถินน้อย กะตง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leucaena leucocephala de Wit. วงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
· ต้น เป็นไม้พุ่มยืนต้นสูง 3-5 เมตร ลำต้นแก่สีน้ำตาล ขรุขระ และมักหลุดเป็นขุยออกมา
· ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาว 15-30 ซม. แตกออกเป็นช่อใบย่อย 3-10 คู่ ยาวประมาณ 10 ซม. ใบมีขนาดเล็กคล้ายใบมะขาม จำนวน 5-20 คู่ รูปขอบขนานปลายแหลมยาว 6-12 มม. กว้าง 1.5-5 มม.
· ดอก เป็นช่อขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ กลมฟูสีขาวมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
· ผล เป็นฝักแบนยาว 12-18 ซม. กว้างประมาณ 2 ซม. มีเมล็ด 15-30 เมล็ด สีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
รส : ยอดและใบอ่อนมีรสมัน เมล็ดอ่อนมีรสมันอมหวานเล็กน้อย มีกลิ่น ราก รสจืดเฝื่อน
สรรพคุณทางยา :
ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา
ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ
เมล็ดใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ฝักอ่อน เมล็ดอ่อนการปรุงอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ฝักอ่อน-แก่ รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก (ชาวอีสาน) ใช้เมล็ดอ่อนผสมในส้มตำมะละกอหรือรับประทานกับส้มตำ (ชาวใต้) ใช้เมล็ดอ่อน ใบอ่อนรับประทานกับหอยนางรมวิธีใช้ : ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม ผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม เด็กใช้ 5-20 กรัม ต่อวัน รับประทานตอนท้องว่างในตอนเช้าเป็นเวลา 3-5
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg3

กระทือ
ชื่อสมุนไพร : กระทือชื่อพื้นเมือง : กระทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ เปลพ้อ เฮียวข่า เฮียวแดง ทือ หัวทือชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet Smith.วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นพืชล้มลุกจำพวกเดียวกับไพลหรือขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีสีขาวอมเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร
ใบ ใบออกซ้อนกันเป็นแผงๆ เรียงสลับกัน ใบเรียวยาวสีเขียวเข้ม
ดอก ดอกออกเป็นช่อโผล่พ้นขึ้นจากลำต้นใต้ดิน ช่อก้านดอกยาวช่อดอกเป็นปุ่ม ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดงซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวลแทรกอยู่ตามเกล็ด
รส : กระทือ เนื้อในมีรสขม และขื่นเล็กน้อย
สรรพคุณทางยา : แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกหรืออาจมีเลือดปนด้วย) บำรุงน้ำนม
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น ช่อดอกอ่อน
การปรุงอาหาร : หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น ช่อดอกอ่อน นำมาแกงเผ็ด แกงไตปลา ต้มจิ้มน้ำพริก ผัด ยำ
วิธีใช้ : หัวกะทือเป็นยารักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียดและปวดท้องโดยใช้หัวหรือเหง้าสดขนาด 20 กรัม ย่างไฟพบสุก เอามาโขลกกับน้ำปูนใสคั้นเอาน้ำมาดื่มที่มี อาการ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg4

ไม่มีความคิดเห็น: