วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด พ)
พริกขี้หนูชื่ออื่น ๆ : พริกแด้, พริกแต้, พริกนก, พริกแจว, พริกน้ำเมี่ยง (เหนือ-พายัพ), พริก, พริกชี้ฟ้า,พริกขี้หนู (ภาคกลาง-เหนือ), ดีปลี (ใต้-ปัตตานี), ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก, ใต้ (ภาคใต้), ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว), มะระตี้ (สุรินทร์), ล่าเจียว (จีนกลาง), หมักเพ็ด (อีสาน)ชื่อสามัญ : Bird Chilliชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens Linn.วงศ์ : SOLANACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผล : ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ดการขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ดส่วนที่ใช้ : ผล ใช้เป็นยาสรรพคุณ : ผล ใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลาย แอลกอฮอล์ใช้ทาอื่น ๆ : พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อย ทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อน เป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อนข้อมูลทางคลีนิค :
1. รักษาอาการบวม ฟกช้ำ ให้ใช้พริกขี้หนูที่แก่จัดเป็นสีแดง แล้วตากแห้ง นำมาบดเป็นผงให้ละเอียด แล้วเทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลว กวนให้เข้ากัน แล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถู รักษาอาการเคล็ด ถูกชน ฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อ ให้ทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้ง หรือสองวันต่อครั้ง 2. รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ให้ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลิน หรือผลพริก วาสลิน และแป้งหมี เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอประมาณ แล้วคนให้เป็นครีม ก่อนที่จะใช้ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ จะมีอาการทำให้เหงื่อออก การเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และรู้สึกหายปวด จากการตรวจสอบพบว่า ตามบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อน และการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มขึ้นข้อมูลทางเภสัชวิทยา :
1. สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทำให้ระคายเคืองได้ 2. ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และเชื้อBacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง 3. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน ทำให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหว ของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ำสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา แต่ถ้าให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย 4. ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคปซายซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภา แต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัข จะทำให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด และอาการพวกนี้จะหายไป เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มความดันโลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของแมวที่ถูกวางยาสลบ จะทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัว และฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจ ห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น 5. ฤทธิ์อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทำให้สารกลุ่มคอรืติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้เดินเซ เล็กน้อย และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=phorp&func=phorp12

พริกไทยชื่ออื่น ๆ : พริกน้อย (ภาคเหนือ), โฮ่วเจีย (จีน)ชื่อสามัญ : Pepper, Black Pepperชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum Linn.วงศ์ : PIPERACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้เถาเลื้อย เป็นสีเขียวตลอดปี ลำต้นมีความสูงประมาณ 5 เมตร เถานั้นจะเกาะพันกับไม้ค้าง หรือพืชชนิดอื่น ๆ เถาจะมีข้อพองเห็นได้ชัด ต้นตัวผู้และต้นตัวเมียจะอยู่ต่างต้นกัน ใบ : จะออกสลับกัน ลักษณะของใบจะรีใหญ่มีความยาวประมาณ 8-16 ซม. และกว้างประมาณ 4-7 ซม. ตรงปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ท้องใบจะเป็นสีเขียวออกเทา และมีเส้นใบนูน ส่วนหลังใบจะเป็นสีเขียวเข้ม ดอก : จะออกเป็นช่อจากข้อ ช่อดอกนั้นเป็นสีขาวมีความยาวประมาณ 10 ซม. ส่วนก้านดอกร่วมจะยาวพอ ๆ กับก้านใบ เมล็ด (ผล) : มีลักษณะกลม จะออกเป็นพวง เป็นช่อทรงกระบอกกลมยาว ช่อผลอ่อนนั้นจะเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จะเป็นสีเหลืองและสีแดง ภายในจะมีเมล็ดกลมเป็นสีขาวนวลการขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ดส่วนที่ใช้ : ผลและเมล็ด ใช้เป็นยาสรรพคุณ : ผลและเมล็ด ใช้แห้งประมาณ 0.6-1.5 กรัม นำไปต้มน้ำกิน หรือทำเป็นยาเม็ด หรือยาผงกิน และใช้สำหรับภายนอก โดยการบดเป็นผง ใช้ผสมหรือทำเป็นครีมทาหรือพอก ผลและเมล็ดนั้นจะมีรสร้อน และฉุน ใช้เป็นยารักษาอาการปวดกระเพาะอาหาร โดยใช้ลูกพุทราจีนเอาเมล็ดออก แล้วใส่พริกไทยล่อน ใช้ด้ายพันให้ดี เพื่อไม่ให้เมล็ดพริกไทยออกมา นำไปนึ่งด้วยไอน้ำประมาณ 7 ครั้ง แล้วบดให้เป็นผง ปั้นเป็นเม็ดเท่าเม็ดถั่วเขียว ใช้กินกับน้ำอุ่น ครั้งละ 7 เม็ดกับน้ำอุ่น หลังจากที่กินยานี้แล้ว อาการปวดจะลดลง แต่กระเพาะอาหารจะร้อน และรู้สึกหิว รักษาโดยการกินข้าว หรือข้าวต้ม หลังจากที่กินยานี้รักษาอาการปวดตามบริเวณหัวใจ ปวดท้อง และอาเจียนเป็นน้ำ ให้ใช้พริกไทยดำ ดองกับเหล้า แล้วจิบกิน หรือจะต้มเป็นน้ำแกงกินมีลมในกระเพาะอาหาร มีอาการอาเจียนและเรอ อาจเป็นติดต่อกันหลายวัน ให้ใช้ผงพริกไทยล่อนประมาณ 1 กรัม ขิงสดประมาณ 30 กรัม นำไปปิ้งไฟอ่อน ๆ พอหอม นำไปต้มเอากากออก แล้วอุ่นกินวันละ 3 เวลามีอาการปวด จุกใต้หน้าอก ให้ใช้พริกไทยดำ ยูเฮียงที่แห้งผสมกัน แล้วบดเป็นผง ให้ใช้ขิงสด หรือโกฏเชียง แล้วต้มเอาน้ำผสมเหล้า และผงยาที่บดไว้ใช้กินเป็นแผลเนื่องจากถูกความเย็นจัด ใช้พริกไทย แช่ในเหล้าขาว นานประมาณ 7 วัน แล้วนำกากมาถูทาที่แผลท้องเสีย และอหิวาตกโรคในฤดูร้อน ใช้พริกไทยบดให้เป็นผง แล้วปั้นเป็นเม็ด เท่าเม็ดถั่วเขียว กินครั้งละ 40 เม็ด หลังอาหารตะขาบกัด โดยใช้พริกไทยบด ให้เป็นผงทาถุงอัณฑะอักเสบ เป็นผื่นคัน มีน้ำเหลือง ให้ใช้พริกไทยบดเป็นผง ผสมน้ำประมาณ 2 ลิตร แล้วต้มให้เดือด ใช้ชะล้างตามบริเวณแผล วันละประมาณ 2 ครั้ง กระเพาะอาหารผิดปกติ มี อาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ให้ใช้พริกไทย และปั้วแห่ แล้วล้างให้สะอาด ใช้อย่างละเท่า ๆ กัน บดให้เป็นผลผสมกับน้ำขิง ปั้นให้เป็นเม็ดใช้กินกับน้ำขิง ชักเนื่องจากร่างกายขาดแคลเซียม ให้ใช้พริกไทยล่อนและเปลือกไข่ไก่ นำไปผิงไฟให้เหลือง แล้วบดเป็นผง ผสมน้ำสุกกิน ปวดฟัน ให้ใช้พริกไทย พริกหาง บดเป็นผง แล้วผสมเป็นยาขี้ผึ้ง ปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วใช้อุดรูฟันที่ปวด อาการปวดจะลดลง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ใช้พริกไทย แช่ในน้ำส้มสายชูให้ดูดซับน้ำส้มให้มากที่สุด ตากให้แห้ง แล้วบดเป็นผง ผสมกับน้ำส้มสายชูที่แช่นั้น ปั้นเป็นเม็ด ใช้กินกับน้ำส้มสายชูที่เจือจาง รักษาอาการเมื่อยขบ เป็นเหน็บชาง่ายในฤดูหนาวหรือฤดูฝน โดยใช้ไข่ไก่กระเทาะด้านหนึ่งเทเนื้อในออก แล้วใช้เปลือกไข่นั้นตวงพริกไทย ให้เต็ม ผสมกับกะทิ เนื้อในไข่พริกไทย รวมกันบดให้ละเอียด อุ่นพอไข่สุกแล้วกินให้หมดขับลมและรักษาหวัด โดยใช้พริกไทยดำ หรือพริกไทยล่อน ใส่ต้มจืดกินตอนร้อน ๆอื่น ๆ : พริกไทยใช้เป็นเครื่องเทศ และยังใช้แต่งกลิ่นอาหารมานาน ทำให้อาหารมีรสชวนกิน แล้วพริกไทยยังมีส่วนช่วยถนอมอาหร ทำให้อาหารที่ใช้พริกไทยปรุงนั้น เก็บไว้ได้นานกว่าปรกติ พริกไทยมีกลิ่นหอมนั้น เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) อยู่ในพริกไทย นอกจากนี้แล้วในพริกไทยยังมีอัลกาลอยด์ Piperine อัลคาลอยด์ Piperine มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลงกล่าวกันว่า Peperine จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงวันดีกว่า Pyrethrin แต่ไม่เป็นพิษต่อคนถิ่นทีอยู่ : พรรณไม้นี้มีปลูกกันทั่ว ๆ ไป ในประเทศที่มีอากาศร้อนเช่น ในบราซิล หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ไต้หวัน มาเลเซียและในบราซิล หมู่เกาะอินเดียตะวันตก ไต้หวัน มาเลเซียและในประเทศไทยมีปลูกกันมากที่จังหวัดจันทบุรีข้อมูลทางคลีนิค :
1. รักษาโรคตับอักเสบ โดยนำไข่ไก่ 1 ฟอง มาเจาะรูแล้วใส่พริกไทยดำ ลงไปในรู ใช้ดินสอพองปิดรูที่เจาะนั้น แล้วห่อด้วยกระดาษชื้น ๆ นำไปนึ่งให้สุก แล้วกินติดต่อกันประมาณ 10 วัน คิดเป็น 1 รอบของการรักษา ให้หยุดยา 3 วัน แล้วจึงทำการรักษารองที่สองต่อไป ปรากฏว่าได้ผลดี 2. รักษาโรคหลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง และมีอาการหอบหืด 3. รักษาประสาทอ่อนเพลีย 4. รักษาโรคผิวหนัง 5. รักษาเด็กที่ท้องเสียจากระบบการย่อยอาหารไม่ดีข้อมูลทางเภสัชวิทยา : พริกไทยไม่มีผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ คนที่ทดลองจะรู้สึกแสบ เผ็ดลิ้น ร้อนไปทั้งตัวและศีรษะ พริกไทยจะมีสรรพคุณคล้ายกับพริก แต่ระคายเคืองน้อยกว่า นิยมใช้ในทางขับลม บำรุงกระเพาะอาหาร สำหรับใช้ภายนอกนั้น เป็นยาช่วยกระตุ้นและทำให้โลหิตมาเลี้ยงมากขึ้น ส่วนอัลคาลอยด์ของพริกไทยนั้นมีฤทธิ์เป็นยารักษาอาการไข้และขับลม สารที่สกัดด้วยน้ำ อีเธอร์ และแอลกอฮอล์ จากพริกไทยพบว่า มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวตืด แต่มีผลต่อพยาธิเส้นด้าย และพยาธิใบไม้ไม่ปรากฏเด่นชัด ส่วนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากพริกไทยดำนั้น มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli สาร oleoresin จากพริกไทยดำมีความเข้มข้นประมาณ 0.1% มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Aspergillus versicolor
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=phorp&func=phorp13

ไม่มีความคิดเห็น: