วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ผ)
ผักชีชื่ออื่น ๆ : ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผักหอมป้อม, ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), พังไฉ่ (จีน-แต้จิ๋ว), ผักหอม (นครพนม), ผักชีลาชื่อสามัญ : Corianderชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum Linn.วงศ์ : UMBELLIFERAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกสีเขียวอมน้ำตาล ใบ : ลักษณะการออกใบจะเรียงใบคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด ดอก : ออกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อน ๆ ผล : จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มก. สีน้ำตาล ตรงปลายผลแยกออกเป็น 2 แฉก ตามผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้นการขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น และผล สรรพคุณ : ทั้งต้น ช่วยเป็นยาละลายเสมหะ แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการนำเอาต้นที่แห้งประมาณ 10-15 กรัม หรือเอาต้นสด ๆ 60-150 กรัมนำไปต้มกับน้ำ หรือคั้นเอาเฉพาะน้ำและดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง ผล ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้บิด ริดสีดวงทวาร โดยการนำเอาผลแห้งบดเป็นผงทานหรือต้มกับน้ำ แต่ถ้าใช้ภายนอกให้เอาไปต้ม นอกจากนี้ยังดับกลิ่นคาวและและเนื้อข้อห้ามใช้ : อย่าทานมากจนเกินไป เพราะจะทำให้กลิ่นตัวแรง และตาลาย ลืมง่ายตำรับยา :
1. โรคริดสีดวงทวาร ให้นำผลไปคั่วแล้วบดทานผสมกับเหล้า วันละ 3-5 ครั้ง 2. บิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ผล 1 ถ้วยชาตำให้เป็นผง ผสมน้ำตาลทรายทาน 3. ปวดท้อง หรือท้องอืดท้องเฟ้อ ให้ใช้ผลสัก 2 ช้อนชาต้มผสมกับน้ำทาน 4. เป็นหัดหรือผื่นแดงที่ยังออกไม่ทั่วตัว ซึ่งผลนี้จะช่วยขับออกมา โดยใช้ผลแห้ง120 กรัมใส่หม้อดินเผา หรือหม้อเคลือบมีน้ำเต็ม ต้มให้เดือดแล้วน้ำเอาไอรมให้ทั่วห้อง แล้วผื่นก็จะออกมาเอง 5. เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง (Erysipelas) ให้ใช้ผักชีตำพอก 6. ปากเจ็บ คอเจ็บ ปวดฟัน นำเอาเมล็ดมาต้มกับน้ำประมาณ 5 ส่วนแล้วต้มให้เหลือ 1 ส่วนเอาน้ำอมบ้วนปากข้อมูลทางเภสัชวิทยา : ผลที่แก่จะเป็นเครื่องเทศ กลิ่นหอมใช้ผสมกับยาอื่น จะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อที่จะให้ขับสารออกมามากขึ้น หรือน้ำดีมากขึ้น และในน้ำมันระเหยจะมีสารที่มีผลต่ออาการเจริญเติบโตของเชื้อโรค โดยการจะยับยั้งการขยายพันธุ์สารเคมีที่พบ : ภายในผลจะมีน้ำมันระเหย 1-1.4% ไขมัน 26% และในน้ำมันนี้จะประกอบด้วยสารพวก เทอปีน (terpenes) อยู่หลายชนิด และพวกเจอรานิออล (geranilo) พวกแอลกอฮอล์การบูร (camphor) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีน้ำตาลอ้อย (sucrose) น้ำตาลผลไม้ (fructose) น้ำกลูโคสทั้งต้น มีสารพวก ลินาโลออล (linalool โนนานาล (nonanal) ดีคาลนาล (decanal) และวิตามินซี 92-98 มก.%ในเมล็ด จะมีสารประกอบพวกไนโตรเจน 13-15% และสารอนินทรีย์ 7% มีน้ำมันระเหย 1% ซึ่งมีสารส่วนใหญ่ในน้ำมันระเหยนั้นเป็น d-linalool ประมาณ 70% นอกนั้นมี
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=phor&func=phor17

ไม่มีความคิดเห็น: