วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ข)
ขจร
ชื่อสมุนไพร : ขจรชื่อพื้นเมือง : สลิด ผักสลิดคาเลา สลิดป่า ผักสลิด กะจอน ขะจอน ผักขิกชื่อวิทยาศาสตร์ : Telosma minor Craib.วงศ์ : ASCLEPIADACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่หรือขึ้นตามร้านต้นไม้
ใบ ใบรูปร่างคล้ายหัวใจปลายเรียวแหลมยาว เหมือนใบต้นข้าวสาร ใบยาว 6-11 ซม. กว้าง 4-7.5 ซม. มีก้านใบยาว 1.2-2 ซม. ใบสีเขียวอมแดงเล็กน้อย
ดอก เป็นช่อกระจุกหรือเป็นพวงๆ คล้ายพวงอุบะ ดอกแข็งมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกตามซอกใบ ส่งกลิ่นหอมแรงกว่าดอกชำมะนาด หรือกลิ่นของใบเตยกลีบดอกสีเหลืองหรือเขียวอมเหลือง
ผล มีลักษณะกลมยาวคล้ายฝักนุ่นที่ยังเล็ก ผลแก่จะแตกออกได้ และมีเมล็ดใน ปลิวว่อนคล้ายนุ่นมีเมล็ดเกาะติดกับใยสีขาว
รส : ดอก ลูกอ่อน รสจืดหวานสรรพคุณทางยา : ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมาส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ยอดอ่อน ดอกตูมและบาน ผลอ่อนการปรุงอาหาร : ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อน รับประทานสดหรือลวกให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ดอกนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัด แกงจืด แกงส้มวิธีใช้ : ใช้รากผสมยาหยอดรักษาตา รับประทานทำให้อาเจียนถอนพิษเบื่อเมา ทำให้รู้รสอาหาร ดับพิษ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg5

ขนุน
ชื่อสมุนไพร : ขนุนชื่อพื้นเมือง : ขะหนุน หมักมี้ ขะนู นากอ โนน บักมี่ ขนุร ขะเนอ เนน ซีคึย ปะหน่อย นะยวยซะ มะหนุน ล้าง หมาด ยะนู หมากกลางชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lamk.วงศ์ : MORACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร มียางขาวทั้งต้นไม้เนื้ออ่อนแก่นสีเหลือง
ใบ ใบรูปร่างกลมรี เหนียวและหนา ปลายใบแหลมยาว 7-15 ซม. ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ใบด้านบนสีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างสาก
ดอก เป็นช่อออกเป็นกลุ่มช่อดอกตัวเมียและตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ออกที่โคลนกิ่ง/ลำต้น/ง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นแท่ง ยาวประมาณ 2.5 ซม. ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมออกจากลำต้น ก้านขนาดใหญ่ ดอกตัวผู้มีกลิ่นหอมคล้ายส่าเหล้า
ผล เป็นผลรวมผลกลมและยาวขนาดใหญ่ หนัก 10-60 กิโลกรัม ในหนึ่งผลใหญ่จะมีผลย่อยหลายผล (เรียกยวง) เมล็ดกลมรีเนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ถ้าสุกมีกลิ่นหอมเปลือกหุ้มเมล็ดบางรับประทานได้
รส : ยอดขนุน รสฝาดอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลอ่อน รสมันหวานสรรพคุณทางยา : สรรพคุณ ฝาดสมานรักษาอาการท้องเสียส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลอ่อน ดอกตัวผู้อ่อน ซังการปรุงอาหาร : ดอกตัวผู้อ่อนรับประทานกับน้ำพริก ยอดอ่อนใบอ่อน รับประทานสดกับส้มตำ เมี่ยงและลวกร่วมกับน้ำพริก ยอดอ่อนและซังปรุงเป็นแกง ผลขนุนอ่อนต้มให้สุกรับประทานกับน้ำพริกปรุงเป็นซุป(ซุปขนุน) หรือแกงขนุน ผลอ่อน นำมาต้มเป็นผักจิ้มแล้ว ยังมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย ผลสุก จะมีกลิ่นหอม เนื้อในจะมีสีเหลืองนำมารับประทานได้หรือผสมกับน้ำหวานรับประทานเป็นขนม เนื้อในสีเหลืองลื่น รับประทานรักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก รับประทานมากจะเป็นยาระบายอ่อน ๆ ใบสด ใช้ต้มน้ำให้สัตว์กิน ช่วยขับน้ำนมวิธีใช้ : เมล็ด ให้ใช้ประมาณ 60-240 กรัม ต้มสุกกิน จะมีรสชุ่ม ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนม ช่วยบำรุงร่างกาย เนื้อหุ้มเมล็ด ให้ใช้สด ผสมกับน้ำหวานกินบำรุงกำลัง หรือจะกินเป็นขนมก็ได้ ใบ ใช้สด นำมาตำให้ละเอียด อุ่นแล้วพอกแผล ใบแห้งให้บดเป็นผงโรย หรือใช้ผสมทาตรงที่เป็นแผลใช้สำหรับภายนอก รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง ยาง จะมีรสจืด ฝาดเล็กน้อย ให้ใช้ยางสด ทาบริเวณที่บวมอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองเกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง แกนและราก ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทาน จะมีรสหวานชุ่ม รักษากามโรค และบำรุงเลือด
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg6

ขมิ้นขาว
ชื่อสมุนไพร : ขมิ้นขาวชื่อพื้นเมือง : ขมิ้นม่วงชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma mangga Val.&.Zijp.วงศ์ : ZINGIBERACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน ใบเหมือนกับขมิ้นแต่ลำต้นเตี้ยกว่าขมิ้น
ใบ ใบเดี่ยวรอบๆ ขอบใบด้านนอกจะมีสีขาวแต้มอยู่ทั่วไป
เหง้า เหง้าใต้ดินมีสีขาวมีกลิ่นหอม แต่มีกลิ่นและรสเผ็ดน้อยกว่าขิง
รส : ขมิ้นขาว รสเผ็ดสรรพคุณทางยา : ขับลมในลำไส้ขมิ้นขาว สรรพคุณ ขมิ้นมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า curcumin ป้องกันมะเร็งได้ น้ำต้มขมิ้นมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำดี ใช้รักษาอาการนิ่วในถุงน้ำดี และโรคกระเพาะอาหารได้ ขมิ้นสดยังช่วยขับลม แก้ท้องอืดอีกด้วย ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร : เหง้าสดการปรุงอาหาร : เหง้าสด นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปยำ แกงวิธีใช้ : ขมิ้นขาวสด เมื่อทาน 100 กรัมให้วิตามินซีถึง 16 มิลลิกรัม ส่วนขมิ้นชันให้วิตามินซี 12 มิลลิกรัม เหง้า-รักษาแผลในลำไส้ เจริญอาหาร ขับลม ระงับเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการท้องขึ้น ทำให้ผายลมและรักษาไข้ผอมเหลือง
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Vegetable&file=vg7

ข่า
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Galanga
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alpinia galanga SW.
วงศ์ Zingiberraceae
ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง / ข่าหยวก (เหนือ) / ข่าหลวงลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์ ข่าเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นเป็นกอ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีน้ำตาลอมแสด มีเส้นแบ่งข้อเป็นช่วงสั้นๆ เนื้อในเหง้ามีสีขาวรสขมเผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดเหมือนกับขิง มีกลิ่นหอมฉุน ข่าเป็นพืชใบเดี่ยว ใบยาวปลายใบมนขอบใบเรียบ ก้านใบยาวเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ดอกเป็นช่อสีขาวนวล ผลกลมสีแดงส้ม มีรสเผ็ดร้อน ข่าเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน มีถิ่นกำเนินอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียเขตร้อน ปัจจุบันข่าใช้เป็นเครื่องเทศในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียมากกว่าที่อื่น ประเทสไทยมีการปลูกข่าทั่วไป เพราะข่าถือเป็นผักสวนครัวอย่างหนึ่ง สารสำคัญที่พบ เหง้าสดมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ซึ่งประกอบด้วยสารเมททิล-ซินนาเมต (Methyl-cinnamate) ซีนิออล (Cineol) การบูร (Camphor) และยูจีนอล (Eugenol) สรรพคุณ 1. ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน 2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น 3. สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม 4. ใช้ไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง 5. ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร เหง้าและลำต้นอ่อน ดอก วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ข่าเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่ เป็นส่วนผสมในน้ำพริกเครื่องแกงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมากและเหล้า ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable23


ขิง
ชื่อสามัญ/ชื่ออังกฤษ Ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber offcinale Vern. Adrak วงศ์ Zingiberaceae ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงแครง ขิงเขา ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) ขิงแดง ขิงแกลง (จันทบุรี)
ขิงเผือก (เชียงใหม่) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ขิงเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินซึ่งมีลักษณะคล้ายมือหรือที่เรียกว่า "เหง้า" เปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว ขิงจัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับข่า ขมิ้น กระวาน เร่ว ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม ยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน ลำต้นบนดินมีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว มีรูปร่างคล้ายใบไผ่ ปลายใบเรียวแหลม ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อบนยอดที่แยกออกมาจากลำต้นซึ่งไม่มีใบที่ก้านดอก ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม มีเกล็ดอยู่รอบๆ ดอกจะแซมออกมาตามเกล็ด ผลมีลักษณะกลมแข็ง สารสำคัญที่พบ กลิ่นหอมเฉพาะตัวของขิง เกิดจากน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ในเหง้า ซึ่งมีสารสำคัญคือ เซสควิเทอร์ฟีน ไฮโดรคาร์บอน (SesQuiterpene hydrocarbon) เซสควิเทอร์ฟีน แอลกอฮอล์ (SesQuiterpene alcohols) โมโนเทอร์ฟีนอยด์ (Monoterpenoids) เอสเตอร์ (Ester) ฟีนอล (Phenol) รสเผ็ดร้อนและกลิ่นฉุนเกิดจากน้ำมันชัน (Oleoresin) ในเหง้าเช่นเดียวกัน ส่วนประกอบอื่นๆ คือ แป้งและยางเมือก (Gum) นอกจากนี้ ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายอีก คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอ ฯลฯ
สรรพคุณ ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก วิธีใช้เป็นยารักษาโรค นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร 1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้า มาทุบพอแตกต้มกับน้ำ 2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด 3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ 4. รักษาอาการปวดประจำเดือน ในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแก่แห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่มบ่อยๆ
5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง 6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ เป็นหนอง
7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียด คั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณฟันที่ปวด ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร เหง้า หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น ช่อดอกอ่อน วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ขิงที่นำมาประกอบอาหารมีหลายรูปแบบคือ ขิงสด ขิงดอง ขิงแห้ง ขิงผง รวมทั้งน้ำขิงที่เป็นเครื่องดื่ม ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น ใช้โรยหน้าปลานึ่ง โรยหน้าโจ๊กหรือผสมในน้ำจิ้มข้าวมันไก่ ต้มส้มปลา แกงฮังเล ยำกุ้งแห้ง ขิงยำ เป็นเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ หรือทำเป็นขนมหวาน เช่น บัวลอยไข่หวาน มันเทศต้ม เป็นต้น นอกจากนี้ขิงดองยังเป็นอาจาดในอาหารอีกหลายชนิด เช่น ข้าวหน้าเป็ด หรืออาหารญี่ปุ่น รวมทั้งยังเป็นส่วนผสมในการแต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น คุกกี้ พาย เค้ก พุดดิ้ง ผงกะหรี่ เป็นต้น ในประเทศแถบตะวันตกนำขิงไปทำเป็นเบียร์ คือ เบียร์ขิง (Ginger beer) ข้อสังเกต / ข้อควรระวัง 1. ขิงแก่มีสรรพคุณในทางยาและมีรสเผ็ดร้อนมากกว่าขิงอ่อน 2. ขิงแก่มีเส้นใยมากกว่าขิงอ่อน 3. ในเหง้าขิงมีเอนไซม์บางชนิดที่สามารถย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อยได้ 4. สารจำพวกฟีนอลิค (Phenolic compound) ในขิงสามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Herbs&file=Vegetable&func=Vegetable17

ไม่มีความคิดเห็น: