วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

(หมวด ด)

ดองดึง ชื่ออื่น ๆ : ดาวดึงส์, ดองดึงหัวขวาน, ฟันมหาชื่อสามัญ : Climing Lily, Turk’s cap, Superb Lilyชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa superba Linn.วงศ์ : LILIACEAEลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ที่ลำต้นเกิดจากหัวหรือเหง้าซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหัวขวาน หรือฝักกระจับ ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว มีลักษณะสวยงาม คือปลายใบจะบิดม้วนเข้าและม้วนลง เพื่อเป็น เครื่องช่วยในการเกาะยึดหรือพัน มีสีเขียว ดอก : ดอกของดองดึงนี้มีสีสวยสะดุดตามาก ซึ่งมีลักษณะของดอกจะบิด กลีบดอกจะบิด เป็นเส้นยาวจนยาวหยิก โคนดอกเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนยอดของดอกสีแดง เมื่อดอกบานเต็มที่สีของดอกนั้นจะเข้มขึ้น ผล : เมื่อดอกร่วงโรยก็จะกลายเป็นผล ผลนี้ถ้าแก่จัด ๆ ก็จะแตกมีเมล็ดเป็นสีส้ม การขยายพันธุ์ : เป็นไม้เถาที่ขยายพันธุ์ด้วยการใช้หัว หรือใช้วิธีเพาะเมล็ดก็ได้ส่วนที่ใช้ : เหง้าสรรพคุณ : เหง้าภายในเหง้าของดองดึงนี้มีสารอัลคลอลอยด์อยู่หลายชนิด โดยเฉพาะสารโคลคิซีน (colchicines) มีจำนวนสูงมาก ซึ่งมีฤทธิ์ในการบำบัดโรคปวดข้อหรือโรคเก๊าท์และต่อมาได้มีการค้นพบว่าเป็นสารที่เป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของเซลไซโตท๊อกซิค(cytotoxic) ซึ่งผลอันนี้เรานำมารักษาโรคมะเร็งได้ และยังนำมาใช้ให้พืชเปลี่ยนแปลงทางโครโมโซมทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ข้อห้ามใช้ : การที่ภายในเหง้านี้มีสารโคลคิซีน ซึ่งเป็นสารมีพิษหากใช้มากเกินไปจะทำให้เกิด โทษต่อร่างกายได้ ฉะนั้นในการใช้จะต้องระมัดระวัง
ถิ่นที่อยู่ : ดองดึงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แต่ก็สามารถนำมาปลูกให้เจริญเติบโตได้ดีในทวีปเอเชียเขตร้อนทั่ว ๆ
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Flower&func=flower14

ดาวเรือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta Linn.วงศ์ : COMPOSITAEชื่อสามัญ : African marigoldชื่ออื่น ๆ : คำปู้จู้หลวง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นทรงพุ่มข้อนข้างทนทาน ลำต้นสูงประมาณ ๓-๔ ฟุต ส่วนพรรณไม้ปลีกย่อยนั้นจะสูงประมาณ ๑-๓ ฟุต ใบ : ลักษณะใบเป็นฝอยเหมือนดาวกระจาย มีสีเขียว ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลลม ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ใบดก ดอก : ดาวเรืองนี้แบ่งออกเป็นพรรณย่อยอยู่หลายพรรณ ซึ่งในแต่ละพรรณนั้นจะมีลักษณะของดอกที่ต่างกันมีทั้งกลีบซ้อนและไม่ซ้อน และสีก็มีหลายสีเช่น เหลือง ส้ม ขาวนวล เหลืองแต้มแดง แสด ดาวเรืองเป็นดาวเดี่ยว รูปทรงดอกเป็นวงกลมดอกจะดก เวลาออกดอกจะเหลืองเต็มต้นดูสวยงามการขยายพันธุ์ : เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดด ปลูกง่ายทนกับดินทุกสภาพไม่ต้องรดน้ำบ่อยนัก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์ : ใบ เป็นยาเย็น ใช้ทาแผลเนาเปื่อย ฝีต่าง ๆ น้ำคั้นจาใบ้ใช้หยอด แก้เจ็บหู ดอก แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาฟอกเลือด ขับลม ละลายเสมหะ ไอ หลมดลมอักเสบ ปรุงกับตับไก่เป็นยาบำรุงสายตา ดอกแห้งบดเป็นผงผสมกับอาหารไก่ ช่วยให้ไข่แดงสีเข้มขึ้น ดอกสดเป็นอาหาร และทำดอกไม้ประดิษฐ์อื่น ๆ : มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเม็กซิโก


สรรพคุณ : ดอก น้ำที่กลั่นจากดอกแก้อาการอักเสบของตาและชงแก้ไข้ขับเหงื่อ แก้พุพอง หรือนำมาต้มเป็นยาแก้โรคหัด แก้ไข้ทรพิษ หรือถ้ามีอาการปวดฟกช้ำ ให้เอาดอกมาทาถูตรงบริเวณนั้น แมลงกัดต่อยก็ทาได้ใบ นำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้เป็นยานัตถุ์ได้ หรือกินเป็นอาหาร แก้โรคต่อมน้ำเหลืองในเด็ก และถ้าเกิดอาการท้องผูกให้นำใบคั้นเอาน้ำทานซึ่งจะมีรสเผ็ดร้อน ต้น นำมาชงกินเป็นยาแก้โรคดีซ่าน แผลเรื้อรังและแก้เส้นเลือดพอง, เป็นยาขมเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้คลื่นเหียนอาเจียนถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของยุโรปทางตอนใต้
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Flower&func=flower10

ดาหลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
ชื่อพ้อง : Phaeomeria magnifica, Nicolaia elatior
ชื่อสามัญ : ดาหลา
วงศ์ : Zingiberales
ชื่ออื่น ๆ : กาหลา, กะลา
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์
ลำต้น ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
ใบ มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงทั้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซนติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
ดอก ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอกจะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะพัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ
ประโยชน์และสรรพคุณ: ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เนื่องจากดอกดาหลามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Flower&func=flower12

ไม่มีความคิดเห็น: